วันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

วิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี 2560



ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง

วันเสาร์ ๓๐ที่กันยายน พุทธศักราช๒๕๖๐ 
  
๑.            สังคมทุกวันนี้เกิดความวุ่นวาย เพราะขาดธรรมอะไรบ้าง?
เฉลย เพราะขาดธรรมเป็นโลกบาล๒ อย่าง คือ

๑.   หิริ ความละอายแก่ใจในการประพฤติชั่ว
๒.  โอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อผลของการประพฤติชั่ว

๒.           สติ แปลว่าอะไร ? เพราะเหตุไรจึงชื่อว่าเป็นธรรมมีอุปการะมาก?

เฉลย สติ แปลว่า ความระลึกได้ ฯ เพราะช่วยให้ส าเร็จกิจในทางที่ดี ฯ

๓.     พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ได้ชื่อว่ารัตนะ เพราะเหตุไร?

เฉลย เพราะเป็นของมีคุณค่าและหาได้ยาก เหมือนเพชรนิลจินดามีค่ามา น าประโยชน์ และความสุขมาให้แก่ผู้เป็นเจ้าของ ฯ

๔.     ไตรลักษณ์ ได้แก่อะไรบ้าง?
เฉลย     ๑. อนิจจตา ความเป็นของไม่เที่ยง
๒. ทุกขตา ความเป็นทุกข์
๓.  อนัตตตา ความเป็นของไม่ใช่ตน ฯ

๕.            ผู้ที่ท างานไม่ส าเร็จผลตามที่มุ่งหมายเพราะขาดคุณธรรมอ เฉลย เพราะขาดอิทธิบาท คือคุณเครื่องให้ส าเร็จความประสง๔อย่างคือ์

๑. ฉันทะ พอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น ๒. วิริยะ เพียรประกอบสิ่งนั้น

๓.  จิตตะ   เอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้นไม่วางธุระ
๔.  วิมังสา หมั่นตริตรองพิจารณาเหตุผลในสิ่งนั้น ฯ

๖.            ธรรมอันเป็นเครื่องกั้นจิตไม่ให้บรรลุควา?มีอะไรบ้างดีคืออะไร?
เฉลย คือ นิวรณ์๕ฯ มี

๑. กามฉันท์                  พอใจรักใคร่ในอารมณ์ที่ชอบใจมีรูปเป็นต้น
๒. พยาบาท                  ปองร้ายผู้อื่น
๓. ถีนมิทธะ                  ความที่จิตหดหู่และเคลิบเคลิ้ม
๔. อุทธัจจกุกกุจจะฟุ้งซ่านและร าคาญ
๕. วิจิกิจฉา                   ลังเลไม่ตกลงใจ ฯ


๗.     ค าว่า เจรจาชอบ ในมรรคมีองค์๘นั้น คือเจรจาอย่างไร?

เฉลย คือเว้นจากพูดเท็จ เว้นจากพูดส่อเสียด เว้นจากพูดค าหยาบ และเว พูดเพ้อเจ้อ ฯ

คิหิปฏิบัติ

๘.            มิตรแท้ที่ควรคบ มีกี่ประเภท?อะไรบ้าง?
เฉลย มี๔ ประเภท ฯ คือ
๑. มิตรมีอุปการะ

๒.  มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ ๓. มิตรแนะประโยชน์ ๔. มิตรมีความรักใคร่ ฯ

๙.            อบายมุข๔ มีอะไรบ้าง?
เฉลย มี ๑. ความเป็นนักเลงหญิง
๒. ความเป็นนักเลงสุรา

๓.  ความเป็นนักเลงเล่นการพนัน ๔. ความคบคนชั่วเป็นมิตร ฯ

๑๐.  ดื่มน้ าเมามีโทษอย่างไรบ้าง?
เฉลย

มีโทษ๖ อย่าง คือ
๑. เสียทรัพย์
๓. เกิดโรค
๕. ไม่รู้จักอาย

๒. ก่อการทะเลาะวิวาท
๔. ถูกติเตียน
๖. ทอนก าลังปัญญา ฯ


--------------------

ให้เวลา๓ ชั่วโมง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น