ปัญหาและเฉลยวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นเอก
สอบในสนามหลวง พ.ศ.
๒๕๔๓
วันเสาร์ ที่ ๑๘
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๓
------------------------------
๑.
|
๑.๑
|
การตั้งญัตติและสวดอนุสาวนามีอยู่ในกรรมอะไรบ้าง
ในสังฆกรรม
ทั้ง ๔ ?
|
|
๑.๒
|
สังฆกรรม ๔
นั้น อย่างไหนต้องทำในสีมา อย่างไหนทำนอกสีมาก็ได้ ?
|
๑.
|
๑.๑
|
การตั้งญัตติ
มีในญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม และญัตติจตุตถกรรม
ส่วนการสวดอนุสาวนา
มีในญัตติทุติยกรรม และญัตติจตุตถกรรม
|
|
๑.๒
|
ญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม และญัตติจตุตถกรรม ต้องทำในสีมาเท่านั้น ทำนอกสีมาไม่ได้
เพราะต้องตั้งญัตติ ส่วนอปโลกนกรรม ทำนอกสีมา
ก็ได้
เพราะไม่ต้องตั้งญัตติ
|
๒.
|
๒.๑
|
พัทธสีมามีกำหนดขนาดพื้นที่ไว้หรือไม่
? ถ้ามี กำหนดไว้อย่างไร ?
|
|
๒.๒
|
สถานที่ที่เป็นสีมาตามพระวินัยไม่ได้
มีหรือไม่ ?
เพราะเหตุใด ?
|
๒.
|
๒.๑
|
มีกำหนดไว้
คือกำหนดไม่ให้สมมติสีมาเล็กเกินไปจนจุภิกษุ ๒๑ รูป
นั่งไม่ได้และไม่ให้สมมติสีมาใหญ่เกินไปกว่า ๓ โยชน์ สีมาเล็กเกินไปใหญ่เกินไป เป็นสีมาวิบัติ
ใช้ไม่ได้
|
|
๒.๒
|
ไม่มี เพราะในป่าที่ไม่มีบ้าน
ก็จัดเป็นสัตตัพภันตรสีมา ในน่านน้ำที่ได้ขนาด ก็จัดเป็นอุทกุกเขปสีมา
ผืนแผ่นดินที่มีหมู่บ้านก็จัดเป็นคามสีมา
แม้สีมันตริกซึ่งคั่นระหว่างมหาสีมากับขัณฑสีมาก็จัดเป็นคามสีมา
|
๓.
|
๓.๑
|
คำว่า “เจ้าอธิการ”
ในพระวินัยหมายถึงใคร ? มีกี่แผนก ? อะไรบ้าง ?
|
|
๓.๒
|
การให้ภิกษุถือเสนาสนะเป็นหน้าที่ของใคร
? ผู้นั้นพึงปฏิบัติอย่างไร ?
|
๓.
|
๓.๑
|
หมายถึงภิกษุที่สงฆ์สมมติให้เป็นเจ้าหน้าที่ทำกิจการของสงฆ์
มี ๕ แผนก
คือ
|
|
|
๑) เจ้าอธิการแห่งจีวร
๒) เจ้าอธิการแห่งอาหาร
๓) เจ้าอธิการแห่งเสนาสนะ
๔) เจ้าอธิการแห่งอาราม
๕) เจ้าอธิการแห่งคลัง
|
|
๓.๒
|
เป็นหน้าที่ของเจ้าอธิการแห่งเสนาสนะ
พึงปฏิบัติอย่างนี้ คือ
เจ้าอธิการแห่งเสนาสนะพึงกำหนดฐานะของภิกษุผู้ถือเสนาสนะว่า
เป็นผู้ใหญ่หรือผู้น้อย เป็นผู้มีอุปการะแก่สงฆ์หรือหามิได้ เป็นผู้เล่าเรียนหรือประกอบกิจในทางใดบ้าง
เป็นต้น แล้วพึงให้ถือเสนาสนะ
|
๔.
|
๔.๑
|
วัดมีพระจำพรรษาวัดละ
๒ รูปบ้าง ๓ รูปบ้าง ทายกประสงค์จะถวายกฐิน
นิมนต์พระมารวมในวัดเดียวกันเพื่อรับกฐิน เป็นกฐินหรือไม่
? เพราะเหตุใด ?
|
|
๔.๒
|
ในคัมภีร์บริวาร ภิกษุผู้ควรกรานกฐินประกอบด้วยองค์เท่าไร ? บอกมา ๓ ข้อ
|
๔.
|
๔.๑
|
ไม่เป็นกฐิน
เพราะองค์กำหนดสิทธิของภิกษุผู้จะกรานกฐินมี ๓ คือ
|
|
|
๑) เป็นผู้จำพรรษาถ้วนไตรมาสไม่ขาด
๒) อยู่ในอาวาสเดียวกัน
๓) ภิกษุมีจำนวนตั้งแต่ ๕
รูปขึ้นไป
|
|
๔.๒
|
ประกอบด้วยองค์
๘ (เลือกตอบเพียง ๓ ข้อ)
|
|
|
๑) รู้จักบุพพกรณ์
๒) รู้จักถอนไตรจีวร
๓) รู้จักอธิษฐานไตรจีวร
๔) รู้จักการกราน
๕) รู้จักมาติกาคือหัวข้อแห่งการเดาะกฐิน
๖) รู้จักปลิโพธกังวลเป็นเหตุยังไม่เดาะกฐิน
๗) รู้จักการเดาะกฐิน
๘) รู้จักอานิสงส์กฐิน
|
๕.
|
๕.๑
|
จงให้ความหมายของคำต่อไปนี้ ๑. ปฏิจฉันนาบัติ ๒. อันตราบัติ
|
|
๕.๒
|
สัมมุขาวินัยมีองค์เท่าไร
? อะไรบ้าง ?
|
๕.
|
๕.๑
|
๑) ปฏิจฉันนาบัติ
หมายถึง อาบัติที่ภิกษุต้องแล้วปกปิดไว้
๒) อันตราบัติ
หมายถึง อาบัติสังฆาทิเสสที่ภิกษุต้องเข้าอีกระหว่าง
ประพฤติวุฏฐานวิธี
|
|
๕.๒
|
มีองค์ ๔ คือ
|
|
|
๑) ในที่พร้อมหน้าสงฆ์
๒) ในที่พร้อมหน้าธรรม
๓) ในที่พร้อมหน้าวินัย
๔) ในที่พร้อมหน้าบุคคล
|
๖.
|
๖.๑
|
การคว่ำบาตรในทางพระวินัยมีความหมายว่าอย่างไร
?
|
|
๖.๒
|
การคว่ำบาตรนี้
สงฆ์ทำแก่ผู้ประพฤติเช่นไร ? บอกมา
๓ ข้อ
|
๖.
|
๖.๑
|
มีความหมายว่าไม่ให้คบค้าสมาคมด้วยลักษณะ
๓ ประการคือ
|
|
|
๑) ไม่รับบิณฑบาตของเขา
๒) ไม่รับนิมนต์ของเขา
๓) ไม่รับไทยธรรมของเขา
|
|
๖.๒
|
ทำแก่คฤหัสถ์ (เลือกตอบเพียง ๓ ข้อ)
|
|
|
๑) ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ลาภแห่งภิกษุทั้งหลาย
๒) ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ประโยชน์แห่งภิกษุทั้งหลาย
๓) ขวนขวายเพื่ออยู่ไม่ได้แห่งภิกษุทั้งหลาย
๔) ด่าว่าเปรียบเปรยภิกษุทั้งหลาย
๕) ยุยงภิกษุทั้งหลายให้แตกกัน
๖) กล่าวติเตียนพระพุทธ
๗) กล่าวติเตียนพระธรรม
๘) กล่าวติเตียนพระสงฆ์
|
๗.
|
๗.๑
|
ใครเป็นผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน
หรือเป็นผู้ขวนขวายเพื่อทำลายสงฆ์ได้ ?
|
|
๗.๒
|
เหตุที่สงฆ์จะแตกกันมีอะไรบ้าง ? จะป้องกันได้ด้วยวิธีอย่างไร ?
|
๗.
|
๗.๑
|
ภิกษุผู้ปกตัตตะเป็นสมานสังวาส
อยู่ในสีมาเดียวกันเท่านั้น ย่อมอาจทำลายสงฆ์ให้แตกกันเป็นก๊กเป็นพวกได้ นางภิกษุณี สิกขมานา สามเณร
สามเณรี อุบาสก อุบาสิกา หาอาจทำลายสงฆ์ให้แตกกันได้ไม่
เป็นได้เพียงขวนขวายเพื่อทำลายสงฆ์เท่านั้น
|
|
๗.๒
|
มี
๒ อย่างคือ
|
|
|
๑) มีความเห็นปรารภพระธรรมวินัยแตกต่างกันจนเกิดเป็นอธิกรณ์
๒) ความประพฤติปฏิบัติไม่เสมอกัน
ยิ่งหย่อนกว่ากันแล้วเกิดความ
รังเกียจกันขึ้น
|
|
|
จะป้องกันได้ด้วย
๒ วิธีคือ
|
|
|
๑) ต้องส่งเสริมและกวดขันการศึกษาพระธรรมวินัย
ให้มีความ
เห็นชอบเหมือนกัน
๒) ต้องส่งเสริมและกวดขันความประพฤติของภิกษุทั้งหลาย
ให้เสมอกัน ไม่ให้เป็นทางรังเกียจกัน
|
|
|
|
|
|
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕, (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๓๕
|
๘.
|
๘.๑
|
กรรมการมหาเถรสมาคมดำรงอยู่ในตำแหน่งคราวละกี่ปี
?
|
|
๘.๒
|
ผู้จะดำรงตำแหน่งเลขาธิการมหาเถรสมาคม
มีกำหนดไว้อย่างไร ?
|
๘.
|
๘.๑
|
กรรมการมหาเถรสมาคมที่เป็นสมเด็จพระราชาคณะ
ไม่มีกำหนดเวลา ส่วนกรรมการมหาเถรสมาคมที่สมเด็จพระสังฆราชทรงแต่งตั้ง
ดำรงอยู่ในตำแหน่งคราวละ ๒ ปี
|
|
๘.๒
|
มีกำหนดไว้ว่าต้องเป็นอธิบดีกรมการศาสนา
(โดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕, (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๑๓ ความว่า
ให้อธิบดีกรมการศาสนาเป็นเลขาธิการมหาเถรสมาคมโดยตำแหน่ง)
|
๙.
|
๙.๑
|
ในกรณียุบเลิกวัด ทรัพย์สินของวัดนั้นจะพึงตกแก่ใคร ?
|
|
๙.๒
|
การดูแลและจัดการศาสนสมบัติ
กำหนดให้เป็นหน้าที่ของใคร ?
|
๙.
|
๙.๑
|
ให้ตกเป็นของศาสนสมบัติกลาง
จะแบ่งให้ใครไม่ได้ (มาตรา ๓๒ วรรค ๒ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.
๒๕๐๕, (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕)
|
|
๙.๒
|
การดูแลและจัดการศาสนสมบัติกลาง กำหนดให้เป็นหน้าที่ของกรมการศาสนา
การดูแลและจัดการศาสนสมบัติของวัด
กำหนดให้เป็นหน้าที่ของ เจ้าอาวาส
(การดูแลและจัดการศาสนสมบัติกลาง
บัญญัติไว้ในมาตรา ๔๐ ว่า ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมการศาสนา
เพื่อการนี้ให้ถือว่ากรมการศาสนาเป็นเจ้าของศาสนสมบัติกลางนั้นด้วย และมาตรา ๔๑
ว่า ให้กระทรวงศึกษาธิการจัดทำงบประมาณประจำปีของศาสนสมบัติกลาง
ด้วยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม และเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว
ให้ใช้งบประมาณนั้นได้ ส่วนการดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติของวัดมีในมาตรา ๓๗ (๑) ว่า เจ้าอาวาสมีหน้าที่บำรุงรักษาวัด จัด
กิจการและศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดีและใน มาตรา ๔๐ ว่า
การดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติของวัด ให้เป็นไปตามวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง)
|
๑๐.
|
๑๐.๑
|
เจ้าอาวาส
ตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๒๔ ใครเป็นผู้แต่งตั้ง ?
|
|
๑๐.๒
|
เจ้าอาวาสผู้ได้รับแต่งตั้งมีหน้าที่อย่างไร
?
|
๑๐.
|
๑๐.๑
|
สมเด็จพระสังฆราช
ทรงแต่งตั้งเจ้าอาวาสพระอารามหลวง
เจ้าคณะจังหวัด
แต่งตั้งเจ้าอาวาสวัดราษฎร์
|
|
๑๐.๒
|
เจ้าอาวาสมีหน้าที่ตามมาตรา ๓๗ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์
พ.ศ. ๒๕๐๕, (ฉบับที่
๒) พ.ศ. ๒๕๓๕
ดังนี้
|
|
|
๑) บำรุงรักษาวัด
จัดกิจการและศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดี
๒) ปกครองและสอดส่องให้บรรพชิตและคฤหัสถ์ที่มีที่อยู่หรือพำนัก
อาศัยอยู่ในวัดนั้น
ปฏิบัติตามพระธรรมวินัย กฎมหาเถรสมาคม
ข้อบังคับ ระเบียบ
หรือคำสั่งของมหาเถรสมาคม
๓) เป็นธุระในการศึกษาอบรม
และสั่งสอนพระธรรมวินัยแก่บรรพชิต
และคฤหัสถ์
๔) ให้ความสะดวกตามสมควรในการบำเพ็ญกุศล
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น