ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม
นักธรรมชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันศุกร์ ที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๕
๑. ๑.๑ ปฏิสันถาร คืออะไร ? มีอะไรบ้าง
?
๑.๒ มีประโยชน์แก่ผู้ทำอย่างไรบ้าง ?
๑. ๑.๑ คือการต้อนรับแขกผู้มาถึงถิ่น
ฯ มี ๒ อย่าง
๑) อามิสปฏิสันถาร ต้อนรับด้วยสิ่งของ
๒) ธัมมปฏิสันถาร ต้อนรับโดยธรรม
ฯ
๑.๒ อย่างนี้ คือ
๑) เป็นอุบายสร้างความสามัคคีและยึดเหนี่ยวน้ำใจกัน
๒) เป็นการรักษาไมตรีจิตระหว่างกันและกันให้มั่นคงยิ่งขึ้น
ฯ
๒. ๒.๑ วิมุตติคืออะไร ? วิมุตติ ๒ อย่าง มีอะไรบ้าง ?
๒.๒ วิมุตติ ๒ กับวิมุตติ ๕
จัดเป็นโลกิยะและโลกุตตระอย่างไร ?
๒. ๒.๑ คือความหลุดพ้น มี
๑) เจโตวิมุตติ ความหลุดพ้นด้วยอำนาจแห่งใจ
๒) ปัญญาวิมุตติ ความหลุดพ้นด้วยอำนาจแห่งปัญญา ฯ
๒.๒ วิมุตติ ๒
เป็นโลกุตตระอย่างเดียว
ส่วนวิมุตติ ๕
เป็นได้ทั้งโลกิยะและโลกุตตระ ฯ
๓. ๓.๑ ความเห็นว่า
"ถึงคราวเคราะห์ดีก็ดีเอง ถึงคราวเคราะห์ร้ายก็ร้ายเอง" อย่างนี้
เป็นทิฏฐิอะไร ? จงอธิบาย
เป็นทิฏฐิอะไร ? จงอธิบาย
๓.๒ คติทางพระพุทธศาสนาต่างจากความเห็นนี้อย่างไร
?
๓. ๓.๑ เป็นอเหตุกทิฏฐิ คือเห็นว่า
สิ่งทั้งหลายไม่มีเหตุปัจจัย คนเราจะได้ดีหรือได้ร้าย
ตามคราวเคราะห์ ถึงคราวจะดีก็ดีเอง ถึงคราวจะร้ายก็ร้ายเอง ไม่มีเหตุปัจจัยอื่น ฯ
ตามคราวเคราะห์ ถึงคราวจะดีก็ดีเอง ถึงคราวจะร้ายก็ร้ายเอง ไม่มีเหตุปัจจัยอื่น ฯ
๓.๒ พระพุทธศาสนาถือว่าสังขตธรรมทั้งปวงเกิดแต่เหตุ
ฯ
๔. ๔.๑ อาหารของสัตว์นรก
และเปรต คืออะไร ?
๔.๒ คนจำพวกไหนเปรียบเหมือนอสุรกาย
ในอบาย ๔ ?
๔. ๔.๑ อาหารของสัตว์นรกคือกรรม ส่วนของเปรตคือกรรมและผลทานที่ญาติมิตร
ทำบุญอุทิศให้ ฯ
ทำบุญอุทิศให้ ฯ
๔.๒ คนลอบทำโจรกรรม
หลอกลวงฉกชิงเอาทรัพย์ของผู้อื่น เปรียบเหมือนอสุรกาย ฯ
๕. ๕.๑ กุลมัจฉริยะ
ตระหนี่ตระกูล คืออย่างไร ?
๕.๒ ครูสอนศิษย์ ปิดบังอำพรางความรู้ ไม่บอกให้สิ้นเชิง จัดเข้าในมัจฉริยะข้อไหน ?
๕. ๕.๑ คือหวงแหนตระกูลไม่ยอมให้ตระกูลอื่นมาเกี่ยวดองด้วย ถ้าเป็นบรรพชิตก็
หวงอุปัฏฐาก ไม่พอใจให้ไปบำรุงภิกษุอื่น ฯ
หวงอุปัฏฐาก ไม่พอใจให้ไปบำรุงภิกษุอื่น ฯ
๕.๒ ธัมมมัจฉริยะ
๖. ๖.๑ ญาณ ๓
ที่เป็นไปในจตุราริยสัจ มีอะไรบ้าง ?
๖.๒ ญาณ ๓
ที่เป็นไปในทุกขสมุทัยมีอธิบายอย่างไร ?
๖. ๖.๑ ๑)
สัจจญาณ ปรีชาหยั่งรู้อริยสัจ
๒) กิจจญาณ
ปรีชาหยั่งรู้กิจอันควรทำ
๓) กตญาณ ปรีชาหยั่งรู้กิจอันทำแล้ว ฯ
๖.๒ ๑) ปรีชาหยั่งรู้ว่า
นี้ทุกขสมุทัย จัดเป็นสัจจญาณ
๒) ปรีชาหยั่งรู้ว่า
ทุกขสมุทัย เป็นสภาพที่ควรละเสีย
จัดเป็นกิจจญาณ
๓) ปรีชาหยั่งรู้ว่า
ทุกขสมุทัยที่ควรละๆ ได้แล้ว จัดเป็นกตญาณ
ฯ
๗. ๗.๑ วิญญาณฐิติต่างจากสัตตาวาสอย่างไร
?
๗.๒ สัญญาเวทยิตนิโรธกับนิโรธสมาบัติต่างกันหรือเหมือนกัน
?
๗. ๗.๑ ต่างกันอย่างนี้ ภูมิเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณเรียกว่า วิญญาณฐิติ
ภพเป็นที่อยู่แห่งสัตว์ เรียกว่า สัตตาวาส ฯ
ภพเป็นที่อยู่แห่งสัตว์ เรียกว่า สัตตาวาส ฯ
๗.๒ ต่างกันโดยพยัญชนะ โดยอรรถเป็นอย่างเดียวกัน คือท่านผู้เข้าถึงสมาบัติ
ชนิดนี้แล้วย่อมไม่มีสัญญาและเวทนา ฯ
ชนิดนี้แล้วย่อมไม่มีสัญญาและเวทนา ฯ
๘. ๘.๑ ในพระพุทธคุณ
บทว่า อรหํ ที่แปลว่า เป็นผู้หักกำแห่งสังสารจักรนั้น กำแห่ง
สังสารจักร ได้แก่อะไร ?
สังสารจักร ได้แก่อะไร ?
๘.๒ พระพุทธคุณต่อไปนี้มีคำแปลว่าอย่างไร
?
ก) สุคโต
ข) อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ
๘. ๘.๑ ได้แก่อวิชชา ตัณหา
อุปาทานและกรรม ฯ
๘.๒ ก) เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว
ข)
เป็นสารถีแห่งบุรุษพึงฝึกได้ ไม่มีบุรุษอื่นยิ่งไปกว่า ฯ
๙. ๙.๑ ในกรรม
๑๒ กรรมที่ให้ผลตามลำดับ
ได้แก่กรรมอะไรบ้าง ?
๙.๒ อุปฆาตกกรรม มีอธิบายอย่างไร ?
๙. ๙.๑ ได้แก่
๑) ครุกรรม กรรมหนัก
๒) พหุลกรรม หรือ อาจิณณกรรม กรรมชิน
๓) อาสันนกรรม กรรมเมื่อจวนเจียน
๔) กตัตตากรรม กรรมสักว่าทำ
ฯ
๙.๒ อุปฆาตกกรรมเป็นกรรมที่แรง
ซึ่งตรงกันข้ามกับชนกกรรม และอุปัตถัมภกกรรม
เข้าตัดรอนการให้ผลของกรรมสองอย่างนั้นให้ขาดไปเสียทีเดียว เช่น เกิดใน
ตระกูลสูงมั่งคั่ง แต่อายุสั้น เป็นต้น ฯ
เข้าตัดรอนการให้ผลของกรรมสองอย่างนั้นให้ขาดไปเสียทีเดียว เช่น เกิดใน
ตระกูลสูงมั่งคั่ง แต่อายุสั้น เป็นต้น ฯ
๑๐. ๑๐.๑ ในธุดงค์ ๑๓ นั้น
ธุดงค์ที่ถือได้เฉพาะกาลมีอะไรบ้าง ?
๑๐.๒ การถือธุดงค์
ย่อมสำเร็จด้วยอาการอย่างไร ?
๑๐. ๑๐.๑ ๑) รุกขมูลิกังคะ ถืออยู่โคนไม้เป็นวัตร
๒) อัพโภกาสิกังคะ
ถืออยู่ในที่แจ้งๆ
เป็นวัตร ฯ
๑๐.๒ สำเร็จด้วยการสมาทาน
คือด้วยอธิษฐานใจหรือแม้ด้วยเปล่งวาจา ฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น