วันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

วิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นโท 2545


ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ  นักธรรมชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันอาทิตย์ ที่  ๒๔  พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๕
 ๑.    ๑.๑ อภิสมาจารคืออะไร ?  แบ่งเป็นกี่ประเภท ?  อะไรบ้าง ?
        ๑.๒ ขันธ์แห่งจีวรประกอบด้วยอะไรบ้าง ?  ทรงมีพระพุทธานุญาตไว้อย่างไร ?
 ๑.    ๑.๑ คือธรรมเนียมของภิกษุ แบ่งเป็น ๒ ประเภทคือ
             เป็นข้อห้าม ๑ เป็นข้ออนุญาต ๑ ฯ
        ๑.๒ ประกอบด้วยมณฑล อัฑฒมณฑล และอัฑฒกุสิ ฯ ทรงมีพระพุทธานุญาตไว้
             ว่า จีวรผืนหนึ่งให้มีขันธ์ไม่น้อยกว่า ๕ เกินกว่านั้นใช้ได้ แต่ให้เป็นขันธ์ที่เป็นคี่
             คือ  , , ๑๑ เป็นต้น ฯ
 ๒.    ๒.๑ ในบาลีแสดงเหตุนิสัยจะระงับจากอุปัชฌาย์ไว้เท่าไร ?  อะไรบ้าง ?
        ๒.๒ ภิกษุผู้ควรจะได้นิสัยมุตตกะต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง ?
 ๒.    ๒.๑ แสดงไว้ ๕ ประการคือ อุปัชฌาย์หลีกไปเสีย ๑  สึกเสีย ๑  ตายเสีย ๑
             ไปเข้ารีตเดียรถีย์ ๑   สั่งบังคับ ๑ ฯ
        ๒.๒ มีคุณสมบัติ คือ
                   ๑) เป็นผู้มีศรัทธา  มีหิริ  มีโอตตัปปะ  มีวิริยะ  มีสติ
                   ๒) เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล อาจาระ ความเห็นชอบ เคยได้ยินได้ฟังมาก
                       มีปัญญา
                   ๓) รู้จักอาบัติ มิใช่อาบัติ อาบัติเบา อาบัติหนัก จำปาฏิโมกข์ได้แม่นยำ
             ทั้งมีพรรษาได้ ๕ หรือยิ่งกว่า ฯ
 ๓.    ๓.๑ อุปัชฌาย์ประณามสัทธิวิหาริกผู้ประพฤติมิชอบด้วยเหตุอะไรบ้าง ?
        ๓.๒ อาการที่อุปัชฌาย์ประณามสัทธิวิหาริกพึงทำอย่างไร ?
 ๓.    ๓.๑ ด้วยเหตุดังนี้ คือ
             หาความรักใคร่ในอุปัชฌาย์มิได้ ๑ หาความเลื่อมใสมิได้ ๑ หาความละอาย
             มิได้ ๑  หาความเคารพมิได้ ๑ หาความหวังดีต่อมิได้ ๑ ฯ
        ๓.๒ พึงพูดให้รู้ว่าตนไล่เธอเสีย ในบาลีแสดงไว้ว่า เราประณามเธอ เธออย่าเข้ามา
             ณ ที่นี้ จงขนบาตรจีวรของเธอออกไปเสีย หรือเธอไม่ต้องอุปัฏฐากเราดังนี้
             หรือแสดงอาการทางกายให้รู้อย่างนั้นก็ได้ ฯ
 ๔.    ๔.๑ ภิกษุผู้เป็นอาคันตุกะ  ไปสู่อาวาสอื่น พึงประพฤติให้ถูกธรรมเนียมอย่างไร ?
        ๔.๒  ภิกษุผู้เข้าไปรับบิณฑบาตในละแวกบ้าน พึงประพฤติให้ถูกธรรมเนียมอย่างไร ?
 ๔.    ๔.๑ พึงประพฤติดังนี้
                   ๑) ทำความเคารพในท่าน
                   ๒) แสดงความเกรงใจเจ้าของถิ่น
                   ๓) แสดงอาการสุภาพ
                   ๔) แสดงอาการสนิทสนมกับเจ้าของถิ่น
                   ๕) ถ้าจะอยู่ที่นั่น ควรประพฤติให้ถูกธรรมเนียมของเจ้าของถิ่น
                   ๖) ถือเสนาสนะแล้วอย่าดูดาย เอาใจใส่ชำระปัดกวาดให้หมดจด จัดตั้ง
                       เครื่องเสนาสนะให้เป็นระเบียบ ฯ
        ๔.๒ พึงประพฤติอย่างนี้
                   ๑) นุ่งห่มให้เรียบร้อย                                           
                   ๒) ถือบาตรในภายในจีวร
                   ๓) สำรวมกิริยาให้เรียบร้อย                             
                   ) กำหนดทางเข้าทางออกแห่งบ้าน
                   ) รับบิณฑบาตด้วยอาการสำรวม ฯ
 .    . ภิกษุผู้เข้าไปในเจติยสถาน ควรปฏิบัติอย่างไร ?
        . ภิกษุได้ชื่อว่า "กุลปสาทโก ผู้ยังตระกูลให้เลื่อมใส" เพราะมีปฏิปทาอย่างไร ?
 .    . ควรปฏิบัติอย่างนี้ คือไม่กั้นร่ม ไม่สวมรองเท้า ไม่ห่มคลุมเข้าไป ไม่แสดง
             อาการดูหมิ่นต่างๆ เช่นพูดเสียงดัง และนั่งเหยียดเท้าเป็นต้น ไม่ถ่ายอุจจาระ
             ปัสสาวะ และไม่ถ่มเขฬะในลานพระเจดีย์ ฯ
        ๕.๒ เพราะมีปฏิปทาอย่างนี้ คือเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอาจาระ ไม่ทอดตนเป็นคนสนิท
             ของสกุล โดยฐานเป็นคนเลว และอีกอย่างหนึ่ง ไม่รุกรานตัดรอนเขา แสดง
             เมตตาจิตต่อเขา ประพฤติพอดีพองาม ยังความเลื่อมใสนับถือของเขาให้เกิด
             ในตน ฯ
 ๖.    ๖.๑ ดิถีที่กำหนดให้เข้าจำพรรษาในบาลีกล่าวไว้เท่าไร ?  อะไรบ้าง ?
        ๖.๒ สัตตาหกรณียะ และ สัตตาหกาลิก มีอธิบายอย่างไร ?
 ๖.    ๖.๑ กล่าวไว้ ๒ คือ
             ๑) ปุริมิกา วัสสูปนายิกา วันเข้าพรรษาต้น คือวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘
             ๒) ปัจฉิมิกา วัสสูปนายิกา  วันเข้าพรรษาหลัง คือวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๙ ฯ
        ๖.๒ สัตตาหกรณียะ คือภิกษุผู้อยู่จำพรรษาไปแรมคืนที่อื่นด้วยกิจจำเป็นบางอย่าง
             แต่กลับมาภายใน ๗ วัน เรียกว่าไปด้วยสัตตาหกรณียะ หรือสัตตาหะ ฯ
             สัตตาหกาลิก คือของที่รับประเคนแล้วเก็บไว้บริโภคได้ ๗ วัน ฯ
 ๗.    ๗.๑ ผู้ทำและอาการที่ทำ  ในการทำอุโบสถ มีอะไรบ้าง ?
        ๗.๒ การทำอุโบสถต้องพร้อมด้วยองค์อย่างไรบ้าง ?
 ๗.    ๗.๑ ผู้ทำมี ๓  คือสงฆ์ คณะ และบุคคล ฯ อาการที่ทำมี ๓ คือสวดปาฏิโมกข์
             บอกความบริสุทธิ์ และอธิษฐาน ฯ
        ๗.๒ พร้อมด้วยองค์ ๔ คือ
                   ๑) วันนั้นเป็นวันอุโบสถที่ ๑๔ หรือ ๑๕ หรือวันสามัคคี วันใดวันหนึ่ง
                   ๒) ภิกษุผู้เข้าประชุมครบองค์ประชุม คือตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป
                   ๓) พวกเธอไม่ต้องสภาคาบัติ
                   ๔) บุคคลที่จำต้องเว้น ไม่มีในที่ประชุมนั้น ฯ
 ๘.    ๘.๑ วันปวารณา และอาการที่กระทำ คืออะไรบ้าง ?
        ๘.๒ การตั้งญัตติในสังฆปวารณามีกี่อย่าง ?  อะไรบ้าง ?
 ๘.    ๘.๑ วันปวารณามี ๓  คือ จาตุททสี ที่ ๑๔ ค่ำ ๑  ปัณณรสี ที่ ๑๕ ค่ำ ๑ สามัคคี
            
วันที่ภิกษุสงฆ์พร้อมเพรียงกัน ๑ ฯ อาการที่กระทำมี ๓ คือปวารณาต่อ
             ที่ประชุม ๑ ปวารณากันเอง ๑ อธิษฐานใจ ๑ ฯ
        ๘.๒ มี ๕ อย่าง คือ เตวาจิกาญัตติ ๑   เทววาจิกาญัตติ ๑   เอกวาจิกาญัตติ ๑  
             สมานวัสสิกาญัตติ ๑   สัพพสังคาหิกาญัตติ ๑ ฯ
 ๙.    ๙.๑ ภิกษุไม่สังวรในอุปปถกิริยา จะพึงได้รับโทษอย่างไรบ้าง ?
        ๙.๒  การแสวงหาเช่นไรจัดเป็นโลกวัชชะ มีโทษทางโลก ? เช่นไรจัดเป็นปัณณัตติวัชชะ
             มีโทษทางพระบัญญัติ ?
 ๙.    ๙.๑  ปรับเป็นอาบัติทุกกฏ  และเป็นฐานที่สงฆ์จะพึงลงโทษ ๔ สถาน อย่างใดอย่างหนึ่ง
             ตามโทษานุโทษ คือ
                   ๑) ตัชชนียกรรม      ตำหนิโทษ
                   ๒) นิยสกรรม         ถอดยศ คือถอดความเป็นผู้ใหญ่
                   ๓) ปัพพาชนียกรรม  ขับไล่จากวัด
                   ๔) ปฏิสารณียกรรม   ให้หวนระลึกถึงความผิด ฯ
        ๙.๒ การแสวงหาในทางบาป เช่นทำโจรกรรมและหลอกลวงให้เขาเชื่อถือ และใน
             ทางที่โลกเขาดูหมิ่น จัดเป็นโลกวัชชะ ฯ การแสวงหาในทางผิดธรรมเนียมของ
             ภิกษุ แม้ไม่มีโทษแก่คนพวกอื่น จัดเป็นปัณณัตติวัชชะ ฯ
๑๐. ๑๐.๑ ในบาลีแสดงลักษณะการถือวิสาสะไว้อย่างไรบ้าง ?
      ๑๐.๒ เหตุที่ควรถือเป็นประมาณ ๕ ประการให้บริขารขาดอธิษฐาน มีอะไรบ้าง ?


๑๐. ๑๐.๑ แสดงไว้อย่างนี้ คือ
                   ๑) เป็นผู้เคยได้เห็นกันมา         
                   ๒) เป็นผู้เคยคบกันมา
                   ๓) ได้พูดกันไว้                    
                   ๔) ยังมีชีวิตอยู่
                   ๕) รู้ว่าของนั้น เราถือเอาแล้ว เจ้าของจักพอใจ ฯ
      ๑๐.๒ มีดังนี้ คือ
                   ๑) ให้แก่ผู้อื่น                      
                   ๒) ถูกโจรชิงเอาไปหรือลักเอาไป
                   ๓) มิตรถือเอาด้วยวิสาสะ         
                   ๔) ถอนเสียจากอธิษฐาน
                   ๕) เป็นช่องทะลุ ฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น