ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี
สอบในสนามหลวง
พ.ศ. ๒๕๔๖
๑.
|
๑.๑
|
โลกเดือดร้อนวุ่นวาย เพราะขาดธรรมอะไร ?
|
๑.๒
|
บุคคลมีกาย วาจา ใจ งดงาม เพราะปฏิบัติธรรมอะไร ?
| |
๑.
|
๑.๑
|
เพราะขาดธรรมคุ้มครองโลก ๒ อย่าง คือ
๑) หิริ ความละอายแก่ใจ
๒) โอตตัปปะ ความเกรงกลัว ฯ
|
๑.๒
|
เพราะปฏิบัติธรรมอันทำให้งาม ๒ อย่าง คือ
๑) ขันติ ความอดทน
๒) โสรัจจะ ความเสงี่ยม ฯ
| |
๒.
|
๒.๑
|
รัตนะ ๓ มีอะไรบ้าง ?
|
๒.๒
|
รัตนะ ๓ นั้น มีคุณอย่างไร ?
| |
๒.
|
๒.๑
|
มี พระพุทธ ๑ พระธรรม ๑ พระสงฆ์ ๑ ฯ
|
๒.๒
|
มีคุณอย่างนี้ คือ
๑) พระพุทธเจ้ารู้ดีรู้ชอบด้วยพระองค์เองก่อนแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้ตาม
๒) พระธรรมย่อมรักษาผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว
๓) พระสงฆ์ปฏิบัติชอบตามคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว
สอนผู้อื่นให้กระทำตาม ฯ | |
๓.
|
๓.๑
|
ธรรมเป็นดุจล้อรถนำไปสู่ความเจริญ เรียกว่าอะไร ?
|
๓.๒
|
ปุพฺเพกตปุญฺญตา หมายความว่าอย่างไร ?
| |
๓.
|
๓.๑
|
เรียกว่า จักรธรรม ฯ
|
๓.๒
|
หมายความว่า ความเป็นผู้ได้ทำความดีไว้ในปางก่อน ฯ
| |
๔.
|
๔.๑
|
ปธาน ๔ มีอะไรบ้าง ?
|
๔.๒
|
เพียรระวังตนให้ห่างไกลจากสิ่งเสพติด จัดเข้าในปธานข้อไหน ?
| |
๔.
|
๔.๑
|
มี ๑) สังวรปธาน เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในสันดาน
๒) ปหานปธาน เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว
๓) ภาวนาปธาน เพียรให้กุศลเกิดขึ้นในสันดาน
๔) อนุรักขนาปธาน เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อม ฯ
|
๔.๒
|
จัดเข้าในสังวรปธาน ฯ
| |
๕.
|
จงอธิบายความหมายของคำต่อไปนี้ ?
| |
๕.๑
|
ปัจจยปัจจเวกขณะ
| |
๕.๒
|
อภิณหปัจจเวกขณะ
| |
๕.
|
๕.๑
|
ปัจจยปัจจเวกขณะ คือ พิจารณาเสียก่อนจึงบริโภคปัจจัย ๔ คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัช ไม่บริโภคด้วยตัณหา ฯ
|
๕.๒
|
อภิณหปัจจเวกขณะ คือ พิจารณาทุก ๆ วันว่า เรามีความแก่ มีความเจ็บมีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ เจ็บ ตายไปได้ เราต้อง
พลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น เรามีกรรมเป็นของ ๆ ตน เราทำดี จักได้ดี ทำชั่ว จักได้ชั่ว ฯ | |
๖.
|
๖.๑
|
ธาตุกัมมัฏฐาน มีอะไรบ้าง ?
|
๖.๒
|
กำหนดพิจารณาอย่างไร เรียกว่า ธาตุกัมมัฏฐาน ?
| |
๖.
|
๖.๑
|
มี ๔ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ฯ
|
๖.๒
|
กำหนดพิจารณากายนี้ ให้เห็นว่าเป็นแต่เพียงธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม ประชุมกันอยู่ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เรียกว่า ธาตุกัมมัฏฐาน ฯ
| |
๗.
|
๗.๑
|
พาหุสัจจะ หมายความว่าอย่างไร ?
|
๗.๒
|
พาหุสัจจะ เป็นอริยทรัพย์อย่างหนึ่งนั้น อธิบายอย่างไร ?
| |
๗.
|
๗.๑
|
หมายความว่า ความเป็นผู้เคยได้ยินได้ฟังมามาก ฯ
|
๗.๒
|
อธิบายว่า พาหุสัจจะ คือความเป็นผู้เคยได้ยินได้ฟังมามากนั้น ได้ชื่อว่าอริยทรัพย์ เพราะเป็นเหตุให้ได้อิฏฐผล มีลาภ ยศ สรรเสริญ สุข และไมตรี เป็นต้น ทั้งไม่เป็นภาระแก่เจ้าของ และที่ดีพิเศษกว่าทรัพย์สิน
เงินทองทั่วไป คือ ยิ่งใช้ยิ่งมี ฯ | |
๘.
|
๘.๑
|
สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือ ดำริอย่างไร ?
|
๘.๒
|
มรรคมีองค์ ๘ ข้อใดบ้างสงเคราะห์เข้าในสีลสิกขา ?
| |
๘.
|
๘.๑
|
คือ ดำริจะออกจากกาม ๑
ดำริในอันไม่พยาบาท ๑
ดำริในอันไม่เบียดเบียน ๑ ฯ
|
๘.๒
|
วาจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีวิตชอบ สงเคราะห์เข้าในสีลสิกขา ฯ
| |
๙.
|
๙.๑
|
บุคคลผู้สามารถยึดเหนี่ยวน้ำใจคนอื่นไว้ได้ เพราะตั้งอยู่ในธรรมอะไร ?
|
๙.๒
|
ธรรมในข้อ ๙.๑ นั้น มีอะไรบ้าง ?
| |
๙.
|
๙.๑
|
ในสังคหวัตถุ ๔ ฯ
|
๙.๒
|
มี ๑) ทาน ให้ปันสิ่งของของตนแก่ผู้อื่นที่ควรให้ปัน
๒) ปิยวาจา เจรจาวาจาที่อ่อนหวาน
๓) อัตถจริยา ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
๔) สมานัตตตา ความเป็นคนมีตนเสมอไม่ถือตัว ฯ
| |
๑๐.
|
๑๐.๑
|
อบายมุข คืออะไร ?
|
๑๐.๒
|
ดื่มน้ำเมามีโทษอย่างไรบ้าง ?
| |
๑๐.
|
๑๐.๑
|
คือ เหตุเครื่องฉิบหาย ฯ
|
๑๐.๒
|
มีโทษ ๖ อย่าง คือ
๑) เสียทรัพย์
๒) ก่อการทะเลาะวิวาท
๓) เกิดโรค
๔) ถูกติเตียน
๕) ไม่รู้จักอาย
๖) ทอนกำลังปัญญา ฯ
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น