วันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

วิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นโท 2547


ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ  นักธรรมชั้นโท
สอบในสนามหลวง
.. ๒๕๔๗

   .  ในพระวินัยส่วนอภิสมาจาร มีพระพุทธบัญญัติให้รักษาความสะอาดเกี่ยวกับร่างกาย
        ไว้อย่างไร ?   การเคี้ยวไม้ชำระฟันมีประโยชน์อย่างไร ?
   .  มีพระพุทธบัญญัติว่าด้วยกายบริหารไว้ว่า ห้ามไว้ผมยาว ๑  ห้ามไว้หนวดเครา ๑ 
        ห้ามไว้เล็บยาว ๑  ห้ามไว้ขนจมูกยาว ๑  เมื่อถ่ายอุจจาระแล้ว น้ำมีอยู่ไม่ชำระไม่ได้ ๑  
        อนุญาตให้ใช้ไม้ชำระฟัน ๑  น้ำดื่มให้กรองก่อน ๑ ฯ
        มีประโยชน์ คือ
               . ฟันไม่สกปรก             
               . ปากไม่เหม็น              
               . เส้นประสาทรับรสหมดจดดี
               . เสมหะไม่หุ้มอาหาร       
               . ฉันอาหารมีรส ฯ
   .  บริขารเหล่านี้คือ ไตรจีวร ฟูกเตียง (ที่นอน) หมอนหนุนศีรษะ เตียง ผ้าปูนอน
        ผ้าเช็ดหน้า ฟูกตั่ง (เบาะ)  ผ้านิสีทนะ  อย่างไหนจัดเป็นบริขารเครื่องบริโภค อย่างไหน
       
จัดเป็นบริขารเครื่องเสนาสนะ ?
   .  ไตรจีวร ผ้าปูนอน ผ้าเช็ดหน้า ผ้านิสีทนะ  จัดเป็นบริขารเครื่องบริโภค
        ฟูกเตียง (ที่นอน) หมอนหนุนศีรษะ เตียง ฟูกตั่ง (เบาะ) จัดเป็นบริขารเครื่อง
        เสนาสนะ ฯ
   .  ในพระวินัย ทรงอนุญาตบาตรไว้กี่ชนิด ?  อะไรบ้าง ?  และมีธรรมเนียมระวังรักษา
        บาตรอย่างกวดขันไว้อย่างไร ?
   .  ทรงอนุญาตไว้ ๒ ชนิด คือ บาตรดินเผา (สุมดำสนิท)   บาตรเหล็ก ๑ 
        มีธรรมเนียมระวังรักษาบาตรอย่างกวดขัน คือ ห้ามไม่ให้วางบาตร เก็บบาตรไว้ในที่ๆ
        บาตรจะตกแตก และในที่จะประทุษร้ายบาตร  ห้ามคว่ำบาตรไว้ที่พื้นคมแข็งอันจะ
        ประทุษร้ายบาตร  ห้ามไม่ให้แขวนบาตร  และห้ามไม่ให้ใช้บาตรต่างกระโถน ห้ามไม่
        ให้เก็บไว้ทั้งยังเปียก  มีบาตรอยู่ในมือห้ามไม่ให้ผลักบานประตู เป็นต้น ฯ
   .  จงให้ความหมายของคำดังต่อไปนี้
               . นิสสัย                     
               . วัตร
               . อุปัชฌายะ
               .  อาจารย์
               . สัทธิวิหาริกวัตร
   .          . นิสสัย คือ กิริยาที่พึ่งพิง
               . วัตร หมายถึง ขนบคือแบบอย่าง อันภิกษุควรประพฤติในกาลนั้นๆ
                   ในที่นั้นๆ ในกิจนั้น  แก่บุคคลนั้นๆ
               . อุปัชฌายะ คือ ภิกษุผู้รับให้สัทธิวิหาริกพึ่งพิง
               .  อาจารย์ คือ ภิกษุผู้รับให้อันเตวาสิกพึ่งพิง
               . สัทธิวิหาริกวัตร คือ หน้าที่อันอุปัชฌายะจะพึงทำแก่สัทธิวิหาริก ฯ
   .  กิจวัตรที่สัทธิวิหาริกควรกระทำแก่พระอุปัชฌายะในข้อว่า เคารพในท่าน นั้น ในบาลี
        ท่านแสดงไว้อย่างไร ?
   .  ในบาลีแสดงการเดินตามท่าน ไม่ให้ชิดนัก ไม่ให้ห่างนัก และไม่พูดสอดในขณะที่
        ท่านกำลังพูด เมื่อท่านพูดผิด ไม่ทักหรือค้านอย่างจังๆ พูดอ้อมพอท่านได้สติรู้สึกตัว
        จึงจะเป็นการดี ฯ
   .  การตั้งญัตติกรรม ในเวลาทำอุโบสถ มีคำว่า ปตฺตกลฺลํ แปลว่า ความพรั่งพร้อม นั้น
        หมายความว่าอย่างไร ?
   .  หมายความว่า การทำอุโบสถกรรมนั้น ต้องประกอบด้วยองค์ ๔ คือ
               . วันนั้น เป็นวันอุโบสถที่ ๑๔ หรือ ๑๕ หรือวันสามัคคี วันใดวันหนึ่ง
               . ภิกษุประชุมครบองค์ประชุม
               . พวกเธอไม่ต้องสภาคาบัติ
               . บุคคลที่ควรเว้นไม่มีในที่ประชุม ฯ
   .  ในอาวาสแห่งหนึ่งมีภิกษุจำพรรษาแรก ๔ รูป พรรษาหลัง ๒ รูป เมื่อถึงวันปวารณา
        แรก (เพ็ญเดือน ๑๑) และวันปวารณาหลัง (เพ็ญเดือน ๑๒) เธอทั้ง ๖ รูปนั้น
        จะปฏิบัติอย่างไร ?
   .  เมื่อถึงวันปวารณาแรก พึงประชุมกันทั้ง ๖ รูปแล้ว ตั้งสังฆญัตติ ภิกษุผู้จำพรรษาแรก
        ๔ รูปพึงปวารณา  เมื่อเสร็จแล้วภิกษุอีก ๒ รูปพึงทำปาริสุทธิอุโบสถ ในสำนักภิกษุ
        ๔ รูปนั้น เมื่อถึงวันปวารณาหลัง พึงประชุมกัน ๖ รูปเช่นเดียวกันแล้ว ภิกษุผู้จำ
        พรรษาแรก ๔ รูป พึงตั้งญัตติสวดปาฏิโมกข์  เมื่อจบแล้วภิกษุ ๒ รูป พึงปวารณา
        ในสำนักภิกษุ ๔ รูปนั้น ฯ
   .  ภิกษุบิณฑบาตได้สับปะรดแล้ว นำมาฉันรวมกับน้ำตาลทรายและเกลือซึ่งรับประเคน
        ไว้แล้ว ๒ วัน  จะต้องอาบัติอะไรหรือไม่ ?  เพราะเหตุไร ?
   .  ต้องอาบัติปาจิตตีย์  เพราะน้ำตาลทรายเป็นสัตตาหกาลิก เกลือเป็นยาวชีวิก  เมื่อ
        นำมาฉันรวมกับสับปะรดซึ่งเป็นยาวกาลิก จึงมีคติเป็นยาวกาลิก ทำให้ต้องอาบัติ
        ปาจิตตีย์ เพราะฉันของเป็นสันนิธิ ฯ
   .  ภัณฑะเช่นไรที่จัดเป็นของสงฆ์ ?  กำหนดไว้กี่ประเภท ?  อะไรบ้าง ?  บิณฑบาต กุฎี
        ที่ดิน จีวร ประคดเอว และเสนาสนะ เป็นภัณฑะประเภทไหน ?
   .  ภัณฑะที่เขาถวายเป็นสาธารณะแก่หมู่ภิกษุ ไม่เฉพาะตัว หรือภัณฑะอันภิกษุรับก็ดี                    ปกครองหวงห้ามไว้ก็ดีด้วยความเป็นสาธารณะแก่หมู่ภิกษุ จัดเป็นของสงฆ์ ฯ
        กำหนดไว้ ๒ ประเภทคือ ครุภัณฑ์ ๑  ลหุภัณฑ์ ๑ ฯ
        บิณฑบาต จีวร ประคดเอว จัดเป็นลหุภัณฑ์
        กุฎี ที่ดิน และเสนาสนะ จัดเป็นครุภัณฑ์ ฯ
๑๐.  มหาปเทส คืออะไร ?  น้ำตาลสด มิได้ทรงอนุญาตไว้โดยตรงให้ภิกษุฉันได้เหมือน
        น้ำอ้อย แต่ฉันได้เพราะอะไร ?  จงตอบให้มีหลัก
๑๐.  คือ ข้อสำหรับอ้างใหญ่ ฯ
        แม้มิได้ทรงอนุญาตโดยตรงให้ภิกษุฉันได้ก็จริง  แต่เพราะน้ำตาลสดเป็นของมี
        รสหวาน สำเร็จประโยชน์เช่นเดียวกันกับรสหวานแห่งอ้อย ชื่อว่าเป็นของเข้ากันกับ
        รสหวานแห่งอ้อย ดังมีระบุไว้ในมหาปเทศ ๔  ข้อว่า สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ว่าควร
        แต่เข้ากันกับสิ่งเป็นกัปปิยะ ขัดกันต่อสิ่งเป็นอกัปปิยะ สิ่งนั้นควร ฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น