ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นตรี
สอบในสนามหลวง
พ.ศ. ๒๕๔๗
๑. อุปสัมปทา (การอุปสมบท) มี ๓ วิธี ในปัจจุบันใช้วิธีไหน ? กำหนดสงฆ์อย่างต่ำ
ไว้เท่าไร ?
ไว้เท่าไร ?
๑. ใช้ญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา การอุปสมบทด้วยกรรมมีญัตติเป็นที่ ๔ ฯ
กำหนดสงฆ์อย่างต่ำไว้คือ ในมัธยมประเทศ ๑๐ รูป ในปัจจันตชนบท ๕ รูป ฯ
๒. พระวินัย คืออะไร ? พระภิกษุรักษาพระวินัยดีแล้ว ย่อมได้รับอานิสงส์อย่างไร ?
๒. คือ พระพุทธบัญญัติและอภิสมาจาร ฯ
พระภิกษุรักษาพระวินัยดีแล้วย่อมได้รับอานิสงส์คือ ความไม่ต้องเดือดร้อนใจ ได้รับ ความแช่มชื่นว่า ได้ประพฤติดีงาม เข้าหมู่สงฆ์ก็อาจหาญ ฯ
๓. นิสสัยและอกรณียกิจคืออะไร ? ทั้ง ๒ อย่างรวมเรียกว่าอะไร ?
๓. นิสสัยคือ ปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิต อกรณียกิจคือ กิจที่บรรพชิตไม่ควรทำ ฯ
ทั้ง ๒ อย่าง รวมเรียกว่า อนุศาสน์ ฯ
๔. สิกขา กับ สิกขาบท ต่างกันอย่างไร ?
๔. ต่างกันอย่างนี้ สิกขา ได้แก่ข้อที่ควรศึกษา คือ ศีล สมาธิ และปัญญา สิกขาบท
ได้แก่ พระบัญญัติมาตราหนึ่งๆ ฯ
ได้แก่ พระบัญญัติมาตราหนึ่งๆ ฯ
๕. อาการที่ภิกษุจะต้องอาบัติข้อที่ว่า ต้องด้วยสงสัยแล้วขืนทำลง มีอธิบายอย่างไร ?
๕. มีอธิบายว่า ภิกษุสงสัยอยู่ว่า ทำอย่างนั้นๆ ผิดพระบัญญัติหรือไม่ แต่ขืนทำ
ด้วยความสะเพร่าเช่นนี้ ถ้าการที่ทำนั้นผิดพระบัญญัติก็ต้องอาบัติตามวัตถุ ถ้าไม่ผิด
ก็ต้องอาบัติทุกกฏเพราะสงสัยแล้วขืนทำ ฯ
ด้วยความสะเพร่าเช่นนี้ ถ้าการที่ทำนั้นผิดพระบัญญัติก็ต้องอาบัติตามวัตถุ ถ้าไม่ผิด
ก็ต้องอาบัติทุกกฏเพราะสงสัยแล้วขืนทำ ฯ
๖. คำว่า มาตุคาม ในสังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๒, ๓, ๔ และ ๕ ต่างกันอย่างไร ?
๖. มาตุคามในสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๒ หมายรวมทั้งหญิงที่รู้เดียงสาและไม่รู้เดียงสา
โดยที่สุดแม้เกิดในวันนั้น ส่วนมาตุคามในสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๓, ๔ และ ๕
หมายเฉพาะหญิงผู้รู้เดียงสาแล้วเท่านั้น ฯ
โดยที่สุดแม้เกิดในวันนั้น ส่วนมาตุคามในสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๓, ๔ และ ๕
หมายเฉพาะหญิงผู้รู้เดียงสาแล้วเท่านั้น ฯ
๗. ในอนิยต ที่ลับตา และที่ลับหู ได้แก่ที่เช่นไร ? ภิกษุอยู่กับมาตุคามสองต่อสองในที่
เช่นนั้น เป็นทางปรับอาบัติอะไรได้บ้าง ?
เช่นนั้น เป็นทางปรับอาบัติอะไรได้บ้าง ?
๗. ที่ลับตา ได้แก่ ที่มีวัตถุกำบัง แลเห็นไม่ได้ ที่ลับหู ได้แก่ ที่แจ้ง แลเห็นได้ แต่ห่าง
ไม่ได้ยินเสียงพูด ฯ
ไม่ได้ยินเสียงพูด ฯ
ในที่ลับตา เป็นทางปรับอาบัติปาราชิก สังฆาทิเสส และ ปาจิตตีย์
ในที่ลับหู เป็นทางปรับอาบัติสังฆาทิเสส และ ปาจิตตีย์ ฯ
๘. จีวรที่เป็นนิสสัคคีย์แล้ว ควรสละให้แก่ใคร ? ถ้าจีวรนั้นสูญหาย พึงปฏิบัติเช่นไร ?
๘. ควรสละให้แก่สงฆ์ก็ได้ แก่คณะก็ได้ แก่บุคคลก็ได้ ฯ
ถ้าจีวรนั้นสูญหาย พึงแสดงอาบัติเท่านั้น ฯ
๙. ภิกษุรู้อยู่ น้อมลาภสงฆ์ไปเพื่อตนก็ดี เพื่อบุคคลก็ดี เพื่อสงฆ์อื่นก็ดี ต้องอาบัติอะไร ?
๙. น้อมลาภที่เขาจะถวายสงฆ์มาเพื่อตน ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์ เพื่อบุคคล ต้องปาจิตตีย์
เพื่อสงฆ์อื่น ต้องทุกกฏ ฯ
เพื่อสงฆ์อื่น ต้องทุกกฏ ฯ
๑๐. ข้อว่า ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักฉันบิณฑบาตโดยเคารพ นั้น มีอธิบายอย่างไร ?
๑๐. มีอธิบายว่า ภิกษุฉันบิณฑบาต แม้เป็นของเลว ก็ไม่แสดงอาการวิการ คือฉันโดยปกติ
และเมื่อฉัน ก็ไม่ฉันพลางทำกิจอื่นพลาง ฯ
และเมื่อฉัน ก็ไม่ฉันพลางทำกิจอื่นพลาง ฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น