ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นเอก
สอบในสนามหลวง
พ.ศ.
๒๕๕๒
๑.
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า
กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงประมวล
เรื่องอันเนื่องด้วยวินัยที่ภิกษุผู้เป็นเถระพึงเรียนรู้เป็นหลักไว้ในวินัยมุขเล่ม
๓ คืออะไรบ้าง ? เมื่อเรียนรู้แล้วจะอำนวยประโยชน์อะไรบ้าง?
ตอบ คือ ธรรมเนียม วิธี และกรณียะต่าง ๆ
อันเนื่องด้วยวินัย ฯ ย่อมอาจจะอำนวยในหน้าที่ให้เป็นไปโดยเรียบร้อย
และอาจเป็นที่พึ่งของผู้น้อยในกิจการ ฯ
๒.
สังฆกรรม
เมื่อกล่าวโดยประเภท มีเท่าไร?
อะไรบ้าง? จงยกตัวอย่างของสังฆกรรมนั้น ๆ
มาอย่างละ ๑ ตัวอย่าง
ตอบ กล่าวโดยประเภท มี ๔ ฯ คือ
๑. อปโลกนกรรม ตัวอย่างเช่น
การรับสามเณรผู้ถูกลงโทษเพราะกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าและได้รับการยกเลิกโทษเพราะกลับประพฤติดี
๒. ญัตติกรรม ตัวอย่างเช่น
การเรียกอุปสัมปทาเปกขะผู้ได้รับการไล่เลียงอันตรายิกธรรมแล้วกลับเข้ามาในหมู่สงฆ์
๓. ญัตติทุติยกรรม ตัวอย่างเช่น
สวดหงายบาตรแก่ผู้ถูกคว่ำบาตรเพราะกลับประพฤติดีในภายหลัง
๔. ญัตติจตุตถกรรม ตัวอย่างเช่น การสวดกรรมที่สงฆ์ผู้ทำกรรม
7 สถาน มีตัชชนียกรรมเป็นต้นลงโทษภิกษุผู้ประพฤติมิชอบ
๓.
การผูกพัทธสีมาในบัดนี้
มีขั้นตอนในการปฏิบัติอย่างไร?
ตอบ มีขั้นตอนดังนี้
๑. พื้นที่อันจะสมมติเป็นสีมาต้องได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาก่อน
๒. ประชุมภิกษุผู้อยู่ในเขตวิสุงคามสีมาหรือนำฉันทะของเธอมาแล้วสวดถอนเป็นแห่ง
ๆ ไปกว่าจะเห็นว่าพอดี พึงสวดถอนติจีวราวิปปวาสก่อนแล้วจึงสวดถอนสมานสังวาสสีมา
๓. เตรียมนิมิตไว้ตามทิศ
๔. เมื่อสมมติสีมา
ต้องประชุมภิกษุผู้อยู่ภายในนิมิตหรือนำฉันทะของเธอมา แล้วออกไปทักนิมิต
๕. กลับมาสวดสมมติสมานสังวาสสีมาก่อนแล้ว
สวดสมมติติจีวราวราวิปปวาสสีมา ฯ
๔.
โดยทั่วไป
มีความเข้าใจเรื่องสังฆกรรมว่า ในสีมาเดียวกัน ภิกษุจะประชุมทำสังฆกรรมวันหนึ่ง ๒
ครั้งไม่ได้ข้อนี้มีความจริงเป็นอย่างไร?
จงอธิบาย
ตอบ มีความเป็นจริงเป็นอย่างนี้ คือ
สังฆกรรมบางอย่าง เช่น อุโบสถ ปวารณา
ภิกษุอยู่ในสีมาเดียวกันจะต้องพร้อมเพรียงกันทำจะแยกกันทำ ๒ พวก ๒ ครั้งไม่ได้ แต่สังฆกรรมบางอย่าง เช่น
อุปสมบทกรรมอัพภานกรรม จะทำวันเดียวหลายครั้งก็ได้
๕.
อันตรายิกธรรมที่ยกขึ้นถามอุปสมปทาเปกขะในการอุปสมบทนั้น
ข้อที่เป็นอันตรายร้ายแรงถึงกับทำให้เป็นภิกษุไม่ได้ คือข้อใดบ้าง?
ตอบ คือ ข้อว่า ไม่ใช่มนุษย์ ไม่ใช่บุรุษ
อายุไม่ครบ 20 ปี ฯ
๖.
อาปัตตาธิกรณ์ระงับในสำนักบุคคลด้วยอธิกรณสมถะอะไร? และระงับในสำนักสงฆ์ด้วยอธิกรณสมถะอะไร?
ตอบ ระงับในสำนักบุคคลด้วยปฏิญญาตกรณะ ฯ
ระงับในสำนักสงฆ์ ถ้าเป็นครุกาบัติ
ด้วยสัมมุขาวินัย และปฏิญญาตกรณะ
ถ้าเป็นลหุกาบัติ ด้วยสัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ ฯ
๗.
อันตราบัติ
คืออาบัติอะไร? ภิกษุจะต้องอาบัตินี้ได้ในเวลาไหนบ้าง?
ตอบ คือ
อาบัติสังฆาทิเสสที่ต้องในระหว่างประพฤติวุฏฐานวิธี ฯ
ภิกษุจะต้องอาบัตินี้ได้ในระหว่างที่กำลังอยู่ปริวาส หรืออยู่ปริวาสแล้วเป็นมานัตตารหะ
กำลังประพฤติมานัตอยุ่ หรือประพฤติมานัตแล้ว เป็นอัพภานารหะ ฯ
๘.
ภิกษุเสียสีลสามัญญตาเพราะประพฤติอย่างไร? พระบรมศาสดาทรงวางโทษไว้ให้สงฆ์ทำกรรมอะไรแก่เธอ?
ตอบ
เพราะต้องอาบัติแล้วไม่ยอมรับว่าเป็นอาบัติ หรือไม่ยอมทำคืน ฯ ทรงวางโทษไว้ให้สงฆ์ทำอุกเขปนียกรรมแก่เธอ
ฯ
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์
๙.
กรรมการมหาเถรสมาคม
ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชทรงแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่งเมื่อใด?
ตอบ พ้นเมื่อ
๑. มรณภาพ
๒. พ้นจากความเป็นพระภิกษุ
๓. ลาออก
๔. สมเด็จพระสังฆราชมีพระบัญชาให้ออก
๕. อยู่ครบวาระ ๒ ปี
๑๐. เจ้าอาวาส หมายถึงใคร? ภิกษุผู้จะดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดที่ไม่ใช่พระอารามหลวงต้องมีคุณสมบัติโดยเฉพาะอะไรบ้าง
ตอบ หมายถึง
พระภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งตามกฎมหาเถรสมาคมให้เป็นพระสังฆาธิการปกครองวัดใดวัดหนึ่ง
ฯ คือ
๑. มีพรรษาพ้น ๕
๒. เป็นผู้ทรงเกียรติคุณเป็นที่เคารพนับถือของคฤหัสถ์และบรรพชิตในถิ่นนั้น
ฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น