วันพฤหัสบดีที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

วินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นเอก 2543


ปัญหาและเฉลยวินัยบัญญัติ  นักธรรมชั้นเอก
สอบในสนามหลวง พ.. ๒๕๔๓
วันเสาร์ ที่  ๑๘  พฤศจิกายน พ.. ๒๕๔๓
------------------------------
.
.
การตั้งญัตติและสวดอนุสาวนามีอยู่ในกรรมอะไรบ้าง ในสังฆกรรม
ทั้ง ๔ ?

.
สังฆกรรม ๔ นั้น อย่างไหนต้องทำในสีมา อย่างไหนทำนอกสีมาก็ได้ ?
.
.
การตั้งญัตติ มีในญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม และญัตติจตุตถกรรม
ส่วนการสวดอนุสาวนา มีในญัตติทุติยกรรม และญัตติจตุตถกรรม

.
ญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม และญัตติจตุตถกรรม ต้องทำในสีมาเท่านั้น              ทำนอกสีมาไม่ได้ เพราะต้องตั้งญัตติ ส่วนอปโลกนกรรม ทำนอกสีมา
ก็ได้ เพราะไม่ต้องตั้งญัตติ
.
.
พัทธสีมามีกำหนดขนาดพื้นที่ไว้หรือไม่ ?  ถ้ามี กำหนดไว้อย่างไร ?

.
สถานที่ที่เป็นสีมาตามพระวินัยไม่ได้ มีหรือไม่ ? เพราะเหตุใด ?
.
.
มีกำหนดไว้ คือกำหนดไม่ให้สมมติสีมาเล็กเกินไปจนจุภิกษุ ๒๑ รูป นั่งไม่ได้และไม่ให้สมมติสีมาใหญ่เกินไปกว่า ๓ โยชน์   สีมาเล็กเกินไปใหญ่เกินไป เป็นสีมาวิบัติ ใช้ไม่ได้

.
ไม่มี  เพราะในป่าที่ไม่มีบ้าน ก็จัดเป็นสัตตัพภันตรสีมา ในน่านน้ำที่ได้ขนาด ก็จัดเป็นอุทกุกเขปสีมา ผืนแผ่นดินที่มีหมู่บ้านก็จัดเป็นคามสีมา แม้สีมันตริกซึ่งคั่นระหว่างมหาสีมากับขัณฑสีมาก็จัดเป็นคามสีมา
.
.
คำว่า เจ้าอธิการ ในพระวินัยหมายถึงใคร ?  มีกี่แผนก ?  อะไรบ้าง ?

.
การให้ภิกษุถือเสนาสนะเป็นหน้าที่ของใคร ?  ผู้นั้นพึงปฏิบัติอย่างไร ?
.
.
หมายถึงภิกษุที่สงฆ์สมมติให้เป็นเจ้าหน้าที่ทำกิจการของสงฆ์
มี ๕ แผนก คือ


     ) เจ้าอธิการแห่งจีวร
     ) เจ้าอธิการแห่งอาหาร
     ) เจ้าอธิการแห่งเสนาสนะ
     ) เจ้าอธิการแห่งอาราม
     ) เจ้าอธิการแห่งคลัง


.
เป็นหน้าที่ของเจ้าอธิการแห่งเสนาสนะ พึงปฏิบัติอย่างนี้ คือ เจ้าอธิการแห่งเสนาสนะพึงกำหนดฐานะของภิกษุผู้ถือเสนาสนะว่า เป็นผู้ใหญ่หรือผู้น้อย เป็นผู้มีอุปการะแก่สงฆ์หรือหามิได้ เป็นผู้เล่าเรียนหรือประกอบกิจในทางใดบ้าง เป็นต้น แล้วพึงให้ถือเสนาสนะ
.
.
วัดมีพระจำพรรษาวัดละ ๒ รูปบ้าง ๓ รูปบ้าง ทายกประสงค์จะถวายกฐิน  นิมนต์พระมารวมในวัดเดียวกันเพื่อรับกฐิน  เป็นกฐินหรือไม่ ? เพราะเหตุใด ?

.
ในคัมภีร์บริวาร ภิกษุผู้ควรกรานกฐินประกอบด้วยองค์เท่าไร  ?  บอกมา    ข้อ
.
.
ไม่เป็นกฐิน เพราะองค์กำหนดสิทธิของภิกษุผู้จะกรานกฐินมี ๓ คือ


     ) เป็นผู้จำพรรษาถ้วนไตรมาสไม่ขาด
     ) อยู่ในอาวาสเดียวกัน
     ) ภิกษุมีจำนวนตั้งแต่ ๕ รูปขึ้นไป

.
ประกอบด้วยองค์ ๘  (เลือกตอบเพียง ๓ ข้อ)


     ) รู้จักบุพพกรณ์
     ) รู้จักถอนไตรจีวร
     ) รู้จักอธิษฐานไตรจีวร
     ) รู้จักการกราน
     ) รู้จักมาติกาคือหัวข้อแห่งการเดาะกฐิน
     ) รู้จักปลิโพธกังวลเป็นเหตุยังไม่เดาะกฐิน
     ) รู้จักการเดาะกฐิน
     ) รู้จักอานิสงส์กฐิน
.
.
จงให้ความหมายของคำต่อไปนี้   . ปฏิจฉันนาบัติ   . อันตราบัติ

.
สัมมุขาวินัยมีองค์เท่าไร ?  อะไรบ้าง ?
.
.
) ปฏิจฉันนาบัติ หมายถึง อาบัติที่ภิกษุต้องแล้วปกปิดไว้
) อันตราบัติ หมายถึง อาบัติสังฆาทิเสสที่ภิกษุต้องเข้าอีกระหว่าง
     ประพฤติวุฏฐานวิธี

.
มีองค์ ๔ คือ


     ) ในที่พร้อมหน้าสงฆ์
     ) ในที่พร้อมหน้าธรรม

     ) ในที่พร้อมหน้าวินัย
     ) ในที่พร้อมหน้าบุคคล
.
.
การคว่ำบาตรในทางพระวินัยมีความหมายว่าอย่างไร ?

.
การคว่ำบาตรนี้ สงฆ์ทำแก่ผู้ประพฤติเช่นไร ?  บอกมา ๓ ข้อ
.
.
มีความหมายว่าไม่ให้คบค้าสมาคมด้วยลักษณะ ๓ ประการคือ


     ) ไม่รับบิณฑบาตของเขา
     ) ไม่รับนิมนต์ของเขา
     ) ไม่รับไทยธรรมของเขา

.
ทำแก่คฤหัสถ์  (เลือกตอบเพียง ๓ ข้อ)


     ) ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ลาภแห่งภิกษุทั้งหลาย
     ) ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ประโยชน์แห่งภิกษุทั้งหลาย
     ) ขวนขวายเพื่ออยู่ไม่ได้แห่งภิกษุทั้งหลาย
     ) ด่าว่าเปรียบเปรยภิกษุทั้งหลาย
     ) ยุยงภิกษุทั้งหลายให้แตกกัน
     ) กล่าวติเตียนพระพุทธ
     ) กล่าวติเตียนพระธรรม
     ) กล่าวติเตียนพระสงฆ์
.
.
ใครเป็นผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน หรือเป็นผู้ขวนขวายเพื่อทำลายสงฆ์ได้ ?

.
เหตุที่สงฆ์จะแตกกันมีอะไรบ้าง ?   จะป้องกันได้ด้วยวิธีอย่างไร  ?
.
.
ภิกษุผู้ปกตัตตะเป็นสมานสังวาส อยู่ในสีมาเดียวกันเท่านั้น ย่อมอาจทำลายสงฆ์ให้แตกกันเป็นก๊กเป็นพวกได้ นางภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี อุบาสก อุบาสิกา หาอาจทำลายสงฆ์ให้แตกกันได้ไม่ เป็นได้เพียงขวนขวายเพื่อทำลายสงฆ์เท่านั้น

.
มี ๒ อย่างคือ


     ) มีความเห็นปรารภพระธรรมวินัยแตกต่างกันจนเกิดเป็นอธิกรณ์
     ) ความประพฤติปฏิบัติไม่เสมอกัน ยิ่งหย่อนกว่ากันแล้วเกิดความ
          รังเกียจกันขึ้น


จะป้องกันได้ด้วย ๒ วิธีคือ


     ) ต้องส่งเสริมและกวดขันการศึกษาพระธรรมวินัย ให้มีความ
          เห็นชอบเหมือนกัน

     ) ต้องส่งเสริมและกวดขันความประพฤติของภิกษุทั้งหลาย
         ให้เสมอกัน ไม่ให้เป็นทางรังเกียจกัน





    พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.. ๒๕๐๕, (ฉบับที่ ๒) .. ๒๕๓๕
.
.
กรรมการมหาเถรสมาคมดำรงอยู่ในตำแหน่งคราวละกี่ปี ?

.
ผู้จะดำรงตำแหน่งเลขาธิการมหาเถรสมาคม มีกำหนดไว้อย่างไร ?
.
.
กรรมการมหาเถรสมาคมที่เป็นสมเด็จพระราชาคณะ ไม่มีกำหนดเวลา ส่วนกรรมการมหาเถรสมาคมที่สมเด็จพระสังฆราชทรงแต่งตั้ง ดำรงอยู่ในตำแหน่งคราวละ ๒ ปี

.
มีกำหนดไว้ว่าต้องเป็นอธิบดีกรมการศาสนา (โดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.. ๒๕๐๕, (ฉบับที่ ๒) .. ๒๕๓๕ มาตรา ๑๓ ความว่า  ให้อธิบดีกรมการศาสนาเป็นเลขาธิการมหาเถรสมาคมโดยตำแหน่ง)
.
.
ในกรณียุบเลิกวัด ทรัพย์สินของวัดนั้นจะพึงตกแก่ใคร  ?

.
การดูแลและจัดการศาสนสมบัติ กำหนดให้เป็นหน้าที่ของใคร ?
.
.
ให้ตกเป็นของศาสนสมบัติกลาง จะแบ่งให้ใครไม่ได้ (มาตรา ๓๒ วรรค ๒ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.. ๒๕๐๕, (ฉบับที่ ๒) .. ๒๕๓๕)

.
การดูแลและจัดการศาสนสมบัติกลาง    กำหนดให้เป็นหน้าที่ของกรมการศาสนา
การดูแลและจัดการศาสนสมบัติของวัด กำหนดให้เป็นหน้าที่ของ      เจ้าอาวาส
(การดูแลและจัดการศาสนสมบัติกลาง บัญญัติไว้ในมาตรา ๔๐ ว่า ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมการศาสนา เพื่อการนี้ให้ถือว่ากรมการศาสนาเป็นเจ้าของศาสนสมบัติกลางนั้นด้วย และมาตรา ๔๑ ว่า ให้กระทรวงศึกษาธิการจัดทำงบประมาณประจำปีของศาสนสมบัติกลาง ด้วยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม และเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้งบประมาณนั้นได้ ส่วนการดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติของวัดมีในมาตรา ๓๗ () ว่า เจ้าอาวาสมีหน้าที่บำรุงรักษาวัด จัด    กิจการและศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดีและใน  มาตรา ๔๐ ว่า การดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติของวัด ให้เป็นไปตามวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง)
๑๐.
๑๐.
เจ้าอาวาส ตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๒๔ ใครเป็นผู้แต่งตั้ง ?

๑๐.
เจ้าอาวาสผู้ได้รับแต่งตั้งมีหน้าที่อย่างไร ?
๑๐.
๑๐.
สมเด็จพระสังฆราช ทรงแต่งตั้งเจ้าอาวาสพระอารามหลวง
เจ้าคณะจังหวัด แต่งตั้งเจ้าอาวาสวัดราษฎร์

๑๐.
เจ้าอาวาสมีหน้าที่ตามมาตรา ๓๗ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.. ๒๕๐๕, (ฉบับที่ ๒) .. ๒๕๓๕ ดังนี้


     ) บำรุงรักษาวัด จัดกิจการและศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดี
     ) ปกครองและสอดส่องให้บรรพชิตและคฤหัสถ์ที่มีที่อยู่หรือพำนัก
          อาศัยอยู่ในวัดนั้น ปฏิบัติตามพระธรรมวินัย กฎมหาเถรสมาคม
          ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งของมหาเถรสมาคม
     ) เป็นธุระในการศึกษาอบรม และสั่งสอนพระธรรมวินัยแก่บรรพชิต
          และคฤหัสถ์
     ) ให้ความสะดวกตามสมควรในการบำเพ็ญกุศล


พุทธานุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นเอก 2543


ปัญหาและเฉลยพุทธานุพุทธประวัติ  นักธรรมชั้นเอก
สอบในสนามหลวง พ.. ๒๕๔๓
วันศุกร์ ที่  ๑๗  พฤศจิกายน พ.. ๒๕๔๓
------------------------------
.
.
ลักษณะทั้ง ๒ ที่พระพุทธองค์ทรงเห็นในมัชฌิมยามแห่งราตรีตรัสรู้คือ    อะไรบ้าง ?

.
พระอุทานที่พระพุทธองค์ทรงเปล่งในปัจฉิมยามมีความว่าอย่างไร ?
.
.
คือ
     ) ปัจจัตตลักษณะ ได้แก่การกำหนดโดยความเป็นกอง
     ) สามัญลักษณะ ได้แก่การกำหนดโดยความเป็นสภาพเสมอกัน  
         คือ ความเป็นของไม่เที่ยง

.
มีความว่า เมื่อใดธรรมทั้งหลายปรากฏชัดแก่พราหมณ์ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ พราหมณ์นั้นย่อมกำจัดเสนามาร คือ ชรา พยาธิ มรณะเสียได้ ดุจพระอาทิตย์อุทัยขึ้นกำจัดมืด ทำอากาศให้สว่างฉะนั้น
.
.
ที่สุดโต่งอันบรรพชิตไม่ควรเสพนั้นคืออะไรบ้าง ?

.
ที่สุดโต่งนั้นมีโทษอย่างไร ?
.
.
คือ
     ) กามสุขัลลิกานุโยค
     ) อัตตกิลมถานุโยค

.
มีโทษดังนี้


     กามสุขัลลิกานุโยค คือการประกอบตนให้พัวพันด้วยสุขในกาม เป็นธรรมอันเลว  เป็นเหตุตั้งบ้านเรือน เป็นของคนมีกิเลสหนา ไม่ใช่ของคนอริยะคือ   ผู้บริสุทธิ์ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์


     อัตตกิลมถานุโยค คือการประกอบความเหน็ดเหนื่อยแก่ตนเปล่า ให้เกิดทุกข์แก่ผู้ประกอบ ไม่ทำผู้ประกอบให้เป็นอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
.
.
พระอัครสาวก ๒ รูปมีชื่อเรียกอะไรบ้าง ?  เหตุไรจึงเรียกอย่างนั้น ?

.
พระอัสสชิแสดงธรรมแก่อุปติสสปริพาชกมีความว่าอย่างไร ?  และมีผล   อย่างไร?

.
.
มีชื่อเรียก อุปติสสะ หรือสารีบุตร เรียก โกลิตะ หรือ  โมคคัลลานะ   ที่เรียกว่า อุปติสสะ เพราะเรียกตามโคตร ที่เรียกว่า สารีบุตร เพราะเป็นบุตรของ นางสารีพราหมณี  ส่วนที่เรียกว่า โกลิตะ เพราะเรียกตามโคตร ที่เรียกว่า    โมคคัลลานะ เพราะเป็นบุตรของนางโมคคัลลานีพราหมณี

.
มีความว่า ธรรมใดเกิดแต่เหตุ พระศาสดาทรงแสดงเหตุของธรรมนั้นและความดับแห่งธรรมนั้น พระศาสดาทรงสอนอย่างนี้ มีผล คือ อุปติสสปริพาชกได้ดวงตาเห็นธรรมว่า สิ่งใด  สิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับเป็นธรรมดา
.
.
พระมหากัสสปเถระประพฤติธุดงควัตรเพราะเห็นอำนาจประโยชน์   อย่างไร ?

.
เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ท่านเป็นกำลังสำคัญแก่พระพุทธศาสนา  อย่างไร ?
.
.
เพราะเห็นอำนาจประโยชน์ ๒ อย่างคือ
     ) การอยู่เป็นสุขในบัดนี้ของตน
     ) เพื่ออนุเคราะห์ประชุมชนในภายหลัง จะได้เป็นทิฏฐานุคติแห่ง
          คนผู้มาเกิดในภายหลัง เมื่อทราบว่า สาวกของพระพุทธเจ้าได้
               ประพฤติอย่างนี้ เขาจะได้ประพฤติตาม ซึ่งเป็นทางอำนวยสุขแก่
          เขาเอง

.
ท่านได้เป็นประธานทำสังคายนาเป็นครั้งแรก
.
.
คำว่า ภทฺเทกรตฺโต  ผู้มีราตรีเดียวอันเจริญ คือการปฏิบัติอย่างไร ?

.
พระสาวกรูปใดได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ฉลาดอธิบายความย่อให้พิสดาร ?
.
.
คือการปฏิบัติอย่างนี้ คือ เป็นผู้มีความเพียร ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน อยู่ด้วยความไม่ประมาท

.
พระมหากัจจายนะ
.
.
ปัญหาว่า    พระขีณาสพตายแล้วเป็นอะไร   ใครถามใคร  ?                                      มีคำตอบอย่างไร ?

.
พระศาสดาทรงพยากรณ์ปัญหาจบลงแล้ว มีผลอะไรเกิดแก่มาณพ
๑๖ คน ?

.
.
พระสารีบุตรถามพระยมกะ มีคำตอบว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่ไม่เที่ยง ดับไปแล้ว

.
มีผลคือ มาณพ ๑๕ คน เว้นปิงคิยมาณพ ส่งใจไปตามธรรมเทศนา มีจิตพ้นจากอาสวะไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน ส่วนปิงคิยมาณพเป็นแต่ได้ญาณเห็นในธรรม
.
.
พระปุณณมันตานีบุตรเป็นชาวเมืองไหน ?  ตั้งอยู่ในคุณธรรมอะไรบ้าง ?

.
ใครถามว่า ท่านประพฤติพรหมจรรย์เพื่ออะไร ? ใครตอบ ? ตอบว่า อย่างไร  ?
.
.
เป็นชาวเมืองกบิลพัสดุ์ ตั้งอยู่ในคุณธรรม ๑๐ ประการ คือ มักน้อย สันโดษ ชอบสงัด ไม่ชอบเกี่ยวข้องด้วยหมู่ ปรารภความเพียร บริบูรณ์ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ ความรู้เห็นในวิมุตติ

.
พระสารีบุตรเป็นผู้ถาม พระปุณณมันตานีบุตรเป็นผู้ตอบ และตอบว่า         เราประพฤติพรหมจรรย์  เพื่อความดับไม่มีเชื้อ
.
.
เพราะเห็นอานิสงส์อะไร พระอานนท์จึงทูลขอพรข้อที่ ๘ ?

.
พระอุบาลีออกบวชพร้อมใครบ้าง ?  ที่ไหน ?  ท่านได้รับเอตทัคคะ
ทางไหน ?
.
.
เพราะเห็นอานิสงส์ว่าหากมีผู้มาถามว่า ธรรมนี้พระพุทธองค์ทรงแสดงในที่ใด ?  ถ้าท่านตอบไม่ได้ เขาจะพูดได้ว่า ท่านตามเสด็จพระศาสดาตลอดกาลนาน  ไม่รู้แม้แต่เรื่องเท่านี้

.
พระอุบาลีออกบวชพร้อมกับ พระภัททิยะ พระอนุรุทธะ พระอานันทะ พระภัคคุ  พระกิมพิละ พระเทวทัต ที่อนุปิยนิคม ได้รับเอตทัคคะทางเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้ทรงวินัย
.
  จงอธิบายข้อความต่อไปนี้


.
ทรงทำอายุสังขาราธิฏฐาน           .  ทรงปลงอายุสังขาร
.
.
ทรงทำอายุสังขาราธิฏฐาน หมายถึง ทรงตั้งพระหฤทัยจักอยู่แสดงธรรม     สั่งสอนแก่มหาชน และตั้งพุทธปณิธานใคร่จะดำรงพระชนม์อยู่ จนกว่า   พุทธบริษัทจะตั้งมั่นและได้ประกาศพระศาสนาให้แพร่หลาย ประดิษฐานให้มั่นคงถาวรสำเร็จประโยชน์แก่นิกรทุกหมู่เหล่า



.
ทรงปลงอายุสังขาร หมายถึง ทรงกำหนดวันปรินิพพานนับแต่วันเพ็ญเดือน ๓ ไปอีก ๓ เดือน คือปลงพระทัยว่าจะบำเพ็ญพุทธกิจต่อไปอีกไม่ได้แล้ว
๑๐.
๑๐.
เมื่อรวมเจดีย์ซึ่งแสดงไว้ในบาลี อรรถกถา และฎีกา มีเท่าไร ?           อะไรบ้าง ?

๑๐.
อันตรธาน ๕ อย่าง อย่างไหนสำคัญกว่า ?  เพราะเหตุไร
๑๐.
๑๐.
มี ๔ คือ ธาตุเจดีย์ ๑ บริโภคเจดีย์ ๑  ธรรมเจดีย์ ๑  อุทเทสิกเจดีย์ ๑

๑๐.
ปริยัติอันตรธานสำคัญกว่า เพราะปริยัติเสื่อมลงในกาลใด พระศาสนาย่อมเสื่อมถอยในกาลนั้น เมื่อปริยัติยังดำรงอยู่ตราบใด พระศาสนาก็ยังดำรงอยู่ตราบนั้น เพราะว่าปริยัติเป็นรากแก้วของพระศาสนา ปฏิบัติเป็นแก่น ปฏิเวธ เป็นผล เมื่อรากแก้วขาดแล้ว แก่นและผลก็พลอยหมดไปตามกัน