ปัญหาและเฉลยธรรม นักธรรมชั้นเอก
สอบในสนามหลวง พ.ศ.
๒๕๔๓
วันพฤหัสบดี ที่ ๑๖
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๓
------------------------------
๑.
|
๑.๑
|
คำว่าโลก
ในพระบาลีว่า
“เอถ ปสฺสถิมํ โลกํ ฯปฯ” หมายถึงอะไร ?
|
|
๑.๒
|
พระบรมศาสดาทรงชักชวนให้มาดูโลกนี้โดยมีพระประสงค์อย่างไร
?
|
๑.
|
๑.๑
|
คำว่า โลก โดยตรงหมายถึงแผ่นดินซึ่งเป็นที่อยู่อาศัย โดยอ้อมหมายถึง หมู่สัตว์ผู้อยู่อาศัย
|
|
๑.๒
|
ทรงมีพระประสงค์ให้พิจารณาดูให้รู้จักของจริง
เพราะในโลกที่กล่าวนี้ย่อมมีพร้อมมูลบริบูรณ์ด้วยสิ่งที่มีคุณและโทษ
พระบรมศาสดาทรง ชักชวนให้มาดูโลก
เพื่อให้รู้จักสิ่งที่เป็นจริง
จักได้ละสิ่งที่เป็นโทษไม่ข้องติดอยู่ในสิ่งที่เป็นคุณ
|
๒.
|
๒.๑
|
บุคคลเช่นไรชื่อว่าหมกอยู่ในโลก
?
|
|
๒.๒
|
ผู้หมกอยู่ในโลกได้รับผลอย่างไร
?
|
๒.
|
๒.๑
|
บุคคลผู้ไร้พิจารณา
ไม่หยั่งเห็นโดยถ่องแท้ ย่อมเพลิดเพลินในสิ่งอัน ให้โทษ
ย่อมระเริงจนเกินพอดีในสิ่งอันอาจให้โทษ
ย่อมติดในสิ่งอันเป็นอุปการะ
ชื่อว่าหมกอยู่ในโลก
|
|
๒.๒
|
ย่อมได้เสวยสุขบ้าง ทุกข์บ้าง อันสิ่งนั้น ๆ พึงอำนวย แม้สุขก็เป็นเพียง สามิส คือ
มีเหยื่อเจือด้วยของล่อใจ
เป็นเหตุแห่งความติด
ดุจเหยื่อคือมังสะอันเบ็ดเกี่ยวไว้
|
๓.
|
๓.๑
|
นิพพิทาคืออะไร
?
|
|
๓.๒
|
ปฏิปทาเครื่องดำเนินให้ถึงนิพพิทานั้นอย่างไร
?
|
๓.
|
๓.๑
|
นิพพิทา
คือความหน่ายในทุกข์
|
|
๓.๒
|
อย่างนี้คือ
พิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา
ย่อมเกิดนิพพิทา เบื่อหน่ายใน ทุกขขันธ์
ไม่เพลิดเพลินยึดมั่นหมกมุ่นอยู่ในสังขารอันยั่วยวนเสน่หา
|
๔.
|
๔.๑
|
สังขาร
ในอธิบายแห่งปฏิปทาของนิพพิทานั้น ได้แก่อะไร ?
|
|
๔.๒
|
จะพึงกำหนดรู้สังขารนั้นโดยความเป็นอนัตตาด้วยอาการอย่างไร
?
|
๔.
|
๔.๑
|
ได้แก่ สภาพอันธรรมดาแต่งขึ้น โดยตรงได้แก่เบญจขันธ์
คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันธรรมดาคุมกันเข้าเป็นกายกับใจ
|
|
๔.๒
|
ด้วยอาการอย่างนี้
คือ
๑) ด้วยไม่อยู่ในอำนาจ
หรือด้วยฝืนความปรารถนา
๒) ด้วยแย้งต่ออัตตา
๓) ด้วยความเป็นสภาพหาเจ้าของมิได้
๔) ด้วยความเป็นสภาพสูญ คือว่าง
หรือหายไป
๕) ด้วยความเป็นสภาวธรรมเป็นไปตามเหตุปัจจัย
|
๕.
|
๕.๑
|
วิปากทุกข์ได้แก่ทุกข์อย่างไร
?
|
|
๕.๒
|
อิฏฐารมณ์
จัดเป็นทุกข์ด้วยหรือไม่ ? ถ้าจัดได้ จัดเข้าในทุกข์หมวดไหน ?
|
๕.
|
๕.๑
|
ได้แก่ วิปฏิสารคือความร้อนใจ
การเสวยกรรมกรณ์คือถูกลงอาชญา
ความฉิบหาย
ความตกยาก และความตกอบาย
|
|
๕.๒
|
อิฏฐารมณ์
จัดเป็นทุกข์ด้วยเหมือนกัน จัดเข้าในหมวดสหคตทุกข์ ทุกข์ไปด้วยกัน
|
๖.
|
๖.๑
|
สมถภาวนา
เป็นอุบายสงบระงับจิตอย่างไร ?
|
|
๖.๒
|
คนที่มีจิตมักลืมหลง
สติไม่มั่นคง ควรเจริญกัมมัฏฐานบทใด ?
|
๖.
|
๖.๑
|
สมถภาวนา
เป็นอุบายเครื่องสำรวมปิดกั้นนีวรณูปกิเลส มิให้เกิด ครอบงำ
จิตสันดานได้ ดังบุคคลปิดทำนบกั้นน้ำไว้มิให้ไหลไปได้ฉะนั้น
และเป็นอุบายข่มขี่สะกดจิตไว้มิให้ดิ้นรนฟุ้งซ่านได้
ดังนายสารถีฝึกม้าให้เรียบร้อย ควรเป็นราชพาหนะได้ฉะนั้น
|
|
๖.๒
|
ควรเจริญอานาปานัสสติ
เพราะอานาปานัสสติกัมมัฏฐานนี้เป็นที่สบายของคนที่เป็นโมหจริต
|
๗.
|
๗.๑
|
สันติแปลว่าอะไร
? มีปฏิปทาที่จะดำเนินอย่างไร ?
|
|
๗.๒
|
สันติเป็นโลกิยะ
หรือโลกุตตระ ?
|
๗.
|
๗.๑
|
สันติ แปลว่า
ความสงบ มีปฏิปทาที่จะดำเนินคือ ปฏิบัติสงบกาย วาจา ใจ จากโทษเวรภัย ละโลกามิส
คือเบญจพิธกามคุณ ๕ มีสันติเป็นวิหารธรรม
|
|
๗.๒
|
สันติเป็นได้ทั้งโลกิยะ
และโลกุตตระ
|
๘.
|
๘.๑
|
ผู้จะเจริญกายคตาสติกัมมัฏฐานพึงกำหนดอะไร
?
|
|
๘.๒
|
เพราะเหตุใด
ตจปัญจกกัมมัฏฐาน ท่านจึงเรียกว่า มูลกัมมัฏฐาน ?
|
๘.
|
๘.๑
|
พึงกำหนดพิจารณากายเป็นที่ประชุมแห่งส่วนน่าเกลียดข้างบนตั้งแต่พื้นเท้าขึ้นมา
ข้างล่างตั้งแต่ปลายผมลงไป มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ
ให้เห็นว่าเต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่าง ๆ
|
|
๘.๒
|
ที่เรียกว่ามูลกัมมัฏฐานนั้น
เพราะเป็นกัมมัฏฐานเดิมที่กุลบุตรผู้มาบรรพชา
ย่อมได้รับสอนกัมมัฏฐานนี้ไว้ก่อนจากพระอุปัชฌาย์
เหมือนดังได้รับมอบศัสตราวุธไว้สำหรับต่อสู้กับข้าศึก คือกามฉันท์ อันจะทำอันตรายแก่พรหมจรรย์
|
๙.
|
๙.๑
|
เจริญมรณัสสติอย่างไรจึงจะแยบคาย
?
|
|
๙.๒
|
อะไรเป็นลักษณะของวิปัสสนาภาวนา
?
|
๙.
|
๙.๑
|
เจริญพร้อมด้วยองค์
๓ คือ สติ ระลึกถึงความตาย ๑ ญาณ
รู้ว่าความตายจักมีแก่ตน ๑
เกิดสังเวชสลดใจ ๑ เจริญอย่างนี้
จึงจะแยบคาย
|
|
๙.๒
|
ความกำหนดรู้ว่า
สังขารเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา เป็นลักษณะของวิปัสสนาภาวนา
|
๑๐.
|
๑๐.๑
|
สมถะ กับ
วิปัสสนา ให้ผลต่างกันอย่างไร ?
|
|
๑๐.๒
|
เมื่อจะเจริญกัมมัฏฐานพึงปฏิบัติอย่างไร
?
|
๑๐.
|
๑๐.๑
|
ให้ผลต่างกันดังนี้
สมถะ
ให้ผลอย่างต่ำ ทำให้ระงับนิวรณ์บางอย่างได้ อย่างสูง ทำให้ เข้าถึงฌานต่าง ๆ ได้ ส่วนวิปัสสนา ให้ผลอย่างต่ำ
ทำให้ได้ปัญญาเห็นสัจจธรรม อย่างสูงทำให้ได้บรรลุอริยผล พ้นจากสังสารทุกข์
|
|
๑๐.๒
|
พึงปฏิบัติอย่างนี้
ในชั้นต้นพึงศึกษาให้รู้ว่า กัมมัฏฐานชนิดไหนชั้นใด ในกัมมัฏฐานนั้น ๆ
มีความมุ่งหมายเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร ในที่นี้ควรศึกษาให้รู้กัมมัฏฐาน ๒
อย่างคือ
๑) สมถกัมมัฏฐาน
๒) วิปัสสนากัมมัฏฐาน
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น