ปัญหาและเฉลยวิชาพุทธานุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นเอก
สอบในสนามหลวง
วันอาทิตย์ ที่
๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๔
๑.
|
๑.๑
|
อาสภิวาจาคือวาจาเช่นไร ?
มีใจความว่าอย่างไร ?
|
|
๑.๒
|
พระพุทธองค์ทรงยืนยันพระองค์เองว่า เป็นสัมมาสัมพุทธะ
เพราะทรงอาศัยเหตุอะไร ?
|
๑.
|
๑.๑
|
คือวาจาที่เปล่งอย่างองอาจ
เป็นภาษิตของบุรุษพิเศษอาชาไนย
มีใจความว่า เราเป็นผู้เลิศ เป็นผู้ใหญ่ เป็นผู้ประเสริฐแห่งโลก |
|
๑.๒
|
เพราะทรงอาศัยเหตุที่ตรัสรู้อริยสัจ ๔
อย่างแจ่มแจ้งครบถ้วนทุกประการ อันมีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ จึงทรงปฏิญาณพระองค์ว่า เป็นสัมมาสัมพุทธะ
|
๒.
|
๒.๑
|
พระปัญจวัคคีย์
ได้ออกบวชตามพระมหาบุรุษเพราะมีความเชื่ออย่างไร ?
|
|
๒.๒
|
การได้บรรลุอริยผลของพระปัญจวัคคีย์
วันเดียวกันหรือต่างวันกัน ?
|
๒.
|
๒.๑
|
มีความเชื่อว่า พระมหาบุรุษจะได้ตรัสรู้อย่างแน่นอน จึงพร้อมใจกันออกบวชติดตามเฝ้าอย่างใกล้ชิด
ด้วยหวังว่า พระองค์ได้ตรัสรู้แล้ว
จักได้เทศนาโปรดตน |
|
๒.๒
|
การบรรลุอริยผลชั้นต้นต่างวันกัน ส่วนการบรรลุอริยผลชั้นสูงสุด
วันเดียวกัน |
๓.
|
๓.๑
|
บุคคลผู้ได้ชื่อว่า อัปปรชักขชาติ มีลักษณะอย่างไร ?
|
|
๓.๒
|
พระโกณฑัญญะ ได้นามเพิ่มข้างหน้าว่า
พระอัญญาโกณฑัญญะ
เพราะเหตุใด ?
|
๓.
|
๓.๑
|
มีกิเลสธุลีในปัญญาจักษุน้อยเป็นปกติ
สามารถจะรู้ทั่วถึงธรรมได้โดยพลัน
|
|
๓.๒
|
เพราะพระพุทธองค์ทรงทราบว่า
ดวงตาเห็นธรรมได้เกิดขึ้นแล้วแก่ท่าน
จึงทรงเปล่งอุทานว่า อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ๆ อาศัยคำอุทานว่า อญฺญาสิ อญฺญาสิ ท่านจึงได้นามเพิ่มข้างหน้าว่า อัญญาโกณฑัญญะ |
๔.
|
๔.๑
|
พระศาสดาทรงแสดงอนุปุพพีกถา และอริยสัจ ๔ ตามลำดับ แก่บุคคลผู้มีคุณสมบัติเช่นไร ?
|
|
๔.๒
|
พระศาสดาประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทาแก่พระยสกุลบุตรว่าอย่างไร
?
|
๔.
|
๔.๑
|
แก่ผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้คือ
๑) เป็นมนุษย์
๒) เป็นคฤหัสถ์
๓) มีอุปนิสัยแก่กล้า ควรบรรลุโลกุตรคุณ
|
|
๔.๒
|
ท่านจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมเรากล่าวดีแล้ว ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์เถิด
|
๕.
|
๕.๑
|
คำว่า " บัวไม่ให้ช้ำ
น้ำไม้ให้ขุ่น " เปรียบด้วยปฏิปทาจริยาวัตร
ข้อใดของพระโมคคัลลานะ ? |
|
๕.๒
|
เจ้าศากยะได้ทูลขอพระศาสดาให้บวชอุบาลีภูษามาลาก่อน เพราะเห็นประโยชน์อันใด ?
|
๕.
|
๕.๑
|
ข้อที่ท่านเป็นผู้ฉลาดในการแนะนำตระกูลที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ไม่ทำศรัทธาและโภคทรัพย์ของเขาให้เสีย
เปรียบเหมือนแมลงผึ้งบินเที่ยวไปในสวนดอกไม้ ไม่ทำสีและกลิ่นของดอกไม้ให้ช้ำ
ถือเอาแต่รสบินไปฉะนั้น
|
|
๕.๒
|
เพราะเห็นประโยชน์ว่า จักได้ทำการกราบไหว้ ลุกรับ ประณมมือ และทำกิจที่สมควรอื่น ๆ แก่พระอุบาลีซึ่งเดิมเป็นคนรับใช้
เมื่อเป็นเช่นนี้จักละมานะความถือตัวได้
|
๖.
|
๖.๑
|
ข้อความว่า " ขออย่าให้พระภิกษุทั้งหลายบวชบุตรที่บิดามารดายังไม่อนุญาตต่อไป " เป็นคำพูดของใคร ? มีความเป็นมาอย่างไร
?
|
|
๖.๒
|
พระราหุลได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์
เพราะได้สดับธรรมอะไร ?
|
๖.
|
๖.๑
|
เป็นพระดำรัสของพระเจ้าสุทโธทนะ, มีความเป็นมาอย่างนี้ คือเมื่อ
พระนันทะพระโอรสทรงผนวช พระเจ้าสุทโธทนะทรงโทมนัสเป็น อันมาก ครั้นราหุลกุมารบวชแล้ว สิ้นผู้ที่จะสืบพระวงศ์ ยิ่งทรงโทมนัสมากขึ้น ทรงปรารภถึงทุกข์อันนี้ที่จะพึงมีแก่มารดาบิดาในตระกูลอื่นในเวลาเมื่อบุตรออกบวช จึงทูลขอพรนี้ |
|
๖.๒
|
เพราะได้สดับพระโอวาทซึ่งสั่งสอนในทางวิปัสสนาคล้ายกับโอวาทที่
ตรัสสอนพระปัญจวัคคีย์ต่างกันแต่ทรงยกอายตนะภายในภายนอก เป็นต้นขึ้นแสดงแทนขันธ์ ๕ เท่านั้น |
๗.
|
๗.๑
|
พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนคฤหัสถ์ด้วยวิธี ๔ สถานนั้น ได้แก่อะไรบ้าง ?
|
|
๗.๒
|
ในการสอนธรรมของพระพุทธองค์นั้น ทรงมีจุดมุ่งหมายอย่างไรบ้าง ?
|
๗.
|
๗.๑
|
ได้แก่ ๑) สันทัสสนา
ชี้ให้ชัด
ให้เห็นแจ่มแจ้งในสัมมาปฏิบัติ
๒) สมาทปนา ชวนให้ปฏิบัติ แสดงเหตุผลให้เห็นสมจริง
๓) สมุตเตชนา ให้อาจหาญ
มีกำลังใจในสัมมาปฏิบัติ
๔) สัมปหังสนา ให้ร่าเริง
แช่มชื่น ในการปฏิบัติตามธรรม
ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า |
|
๗.๒
|
อย่างนี้คือ ๑) เพื่อให้ผู้ฟังได้รู้เห็นในสิ่งที่ควรรู้ควรเห็น
๒) เพื่อให้ผู้ฟังใช้เหตุผลตรองตามจนเห็นจริง
๓) เพื่อให้ผู้ฟังนำไปปฏิบัติและได้รับผลของการปฏิบัติ
ตามสมควรแก่การปฏิบัติของตน ๆ
|
๘.
|
๘.๑
|
จงแสดงใจความแห่งพระพุทธพจน์ที่ชี้ให้เห็นว่า
พระอรหันต์ยังมีได้ตลอดเวลาที่บุคคลยังปฏิบัติชอบอยู่ ?
|
|
๘.๒
|
ในสมัยพุทธกาล พระสาวกองค์ใดได้รับการอุปสมบทด้วยญัตติจตุตถ-กรรมวาจาเป็นองค์แรก และองค์ใดเป็นองค์สุดท้าย ?
|
๘.
|
๘.๑
|
ใจความแห่งพระพุทธพจน์ที่ตรัสก่อนปรินิพพานกับสุภัททปริพาชกว่า " ดูก่อนสุภัททะ ถ้าภิกษุทั้งหลาย
ยังเป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบอยู่ โลกก็จะไม่ว่างจากพระอรหันต์ "
|
|
๘.๒
|
พระราธะเป็นองค์แรก พระสุภัททะเป็นองค์สุดท้าย
|
๙.
|
๙.๑
|
ภิกษุณีผู้มีชื่อต่อไปนี้ได้รับเอตทัคคะในทางไหน ?
ก. พระนางมหาปชาบดีโคตมี
ข. นางเขมาเถรี
ค. นางอุบลวัณณาเถรี
ง. นางปฏาจาราเถรี
จ. นางธัมมทินนาเถรี
|
|
๙.๒
|
พระสงฆ์เถรวาทในเมืองไทยไม่สามารถบวชภิกษุณีได้เพราะเหตุไร ?
|
๙.
|
๙.๑
|
ก. ได้รับเอตทัคคะในทางรัตตัญญู
ข. ได้รับเอตทัคคะในทางมีปัญญา
ค.
ได้รับเอตทัคคะในทางมีฤทธิ์
ง. ได้รับเอตทัคคะในทางทรงวินัย
จ. ได้รับเอตทัคคะในทางธรรมกถึก
|
|
๙.๒
|
เพราะมีพระพุทธานุญาตว่า " ภิกษุณีต้องบวชจากภิกษุณีสงฆ์ก่อน แล้วจึงบวชจากภิกษุสงฆ์อีกครั้งหนึ่ง " เวลานี้ภิกษุณีสงฆ์ไม่มีแล้ว การที่จะบวชภิกษุณีจึงไม่สามารถทำได้
|
๑๐.
|
๑๐.๑
|
พระยาวัสวดีมาร ได้ทูลขอพระพุทธเจ้าให้เสด็จปรินิพพานกี่ครั้ง ?
ที่ไหนบ้าง ? |
|
๑๐.๒
|
เมื่อคราวที่มารทูลขอให้ปรินิพพานครั้งแรก พระองค์ทรงตอบมารว่าอย่างไร ?
|
๑๐.
|
๑๐.๑
|
ได้ทูลขอพระพุทธเจ้าให้เสด็จปรินิพพาน ๒ ครั้งคือ
ครั้งแรกที่ใต้ต้นอชปาลนิโครธ
ครั้งที่สองที่ปาวาลเจดีย์
|
|
๑๐.๒
|
ทรงตอบมารว่า "
ดูก่อนมารผู้ใจบาป เมื่อใดพุทธบริษัท ๔ เป็นผู้ฉลาด เป็นพหูสูตร สามารถดำรงพระธรรมวินัยสืบต่อศาสนาได้
สามารถแสดงธรรมโปรดเวไนยสัตว์ ให้สำเร็จมรรค
ผล นิพพาน และเผยแผ่ศาสนาไปได้อย่างกว้างขวางมั่นคง เมื่อนั้น ตถาคต
จึงจะปรินิพพาน " |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น