ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นเอก
สอบในสนามหลวง
วันเสาร์ ที่
๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๔
๑.
|
๑.๑
|
คำว่า มาร และ บ่วงแห่งมาร หมายถึงอะไร ?
|
|
๑.๒
|
บุคคลจะพ้นจากบ่วงแห่งมารด้วยวิธีอย่างไรบ้าง ?
|
๑.
|
๑.๑
|
คำว่า มาร หมายถึงกิเลสกาม คือเจตสิกอันเศร้าหมอง ได้แก่ ตัณหา
ราคะ และอรติ เป็นต้น
คำว่า บ่วงแห่งมาร หมายถึงวัตถุกาม ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส
และโผฏฐัพพะ
|
|
๑.๒
|
ด้วยวิธี ๓ อย่างคือ
๑) สำรวมอินทรีย์ มิให้ความยินดีครอบงำในเมื่อเห็นรูป
เป็นต้นอันน่าปรารถนา
๒)
มนสิการกัมมัฏฐาน
อันเป็นปฏิปักษ์แก่กามฉันท์ คือ
อสุภะและกายคตาสติหรือมรณัสสติ
๓)
เจริญวิปัสสนา
คือพิจารณาสังขารแยกออกเป็นขันธ์
สันนิษฐานเห็นเป็นสภาพไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา |
๒.
|
๒.๑
|
ทุกขตา ความเป็นทุกข์แห่งสังขารนั้นกำหนดเห็นด้วยทุกข์กี่อย่าง ? อะไรบ้าง ?
|
|
๒.๒
|
ความทุกข์ที่เกิดจากการต้องดิ้นรนต่อสู้ในการทำมาหากิน จัดเป็นทุกข์ชนิดไหน ?
|
๒.
|
๒.๑
|
ด้วยทุกข์ ๑๐ อย่างคือ
๑) สภาวทุกข์
๒)
ปกิณกทุกข์
๓) นิพัทธทุกข์
๔) พยาธิทุกข์
๕)
สันตาปทุกข์
๖) วิปากทุกข์
๗) สหคตทุกข์
๘)
อาหารปริเยฏฐิทุกข์
๙)
วิวาทมูลกทุกข์
๑๐)
ทุกขขันธ์
|
|
๒.๒
|
จัดเป็นอาหารปริเยฏฐิทุกข์
|
๓.
|
๓.๑
|
การพิจารณาแลเห็นสังขารโดยไตรลักษณ์
จัดเป็นวิสุทธิอะไร ?
|
|
๓.๒
|
จงจัดวิสุทธิ ๗ ลงในไตรสิกขา ?
|
๓.
|
๓.๑
|
จัดเป็นทิฏฐิวิสุทธิ
ความหมดจดแห่งความเห็น
|
|
๓.๒
|
๑) สีลวิสุทธิ จัดเป็นศีล
๒)
จิตตวิสุทธิ จัดเป็นสมาธิ
๓) ทิฏฐิวิสุทธิ กังขาวิตรณวิสุทธิ
มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ
ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ญาณทัสสนวิสุทธิ จัดเป็นปัญญา
|
๔.
|
๔.๑
|
วัฏฏะในบาลีว่า วฏฺฏูปจฺเฉโท หมายถึงอะไร ? วัฏฏะนั้นจะขาดได้อย่างไร ?
|
|
๔.๒
|
บาลีแสดงปฏิปทาแห่งนิพพานว่า " สิญฺจ
ภิกฺขุ อิมํ นาวํ " ความว่า "
ภิกษุเธอจงวิดเรือนี้ " คำว่า เรือ และ วิด
ในบาลีนี้หมายถึงอะไร ?
|
๔.
|
๔.๑
|
วัฏฏะ หมายถึง
ความเวียนเกิดด้วยอำนาจกิเลส กรรม และวิบาก
วัฏฏะนั้นจะขาดได้ด้วยการละกิเลสอันเป็นเบื้องต้นเสีย
|
|
๔.๒
|
คำว่า เรือ หมายถึงอัตภาพร่างกาย
คำว่า วิด หมายถึงบรรเทากิเลส และบาปธรรมให้เบาบางจนขจัดได้ขาด
|
๕.
|
๕.๑
|
ในส่วนสังสารวัฏฏ์
สัตวโลกตายแล้วมีคติเป็นอย่างไร ?
|
|
๕.๒
|
ในข้อ ๕.๑ นั้นมีอุทเทสบาลีแสดงไว้อย่างไร
?
|
๕.
|
๕.๑
|
สัตวโลกตายแล้วมีคติเป็น ๒ คือสุคติ
และทุคติ
|
|
๕.๒
|
มีอุทเทสบาลีแสดงว่า
จิตฺเต สงฺกิลิฏฺเฐ
ทุคฺคติ ปาฏิกงฺขา
เมื่อจิตเศร้าหมองแล้ว ทุคติเป็นอันต้องหวัง
จิตฺเต อสงฺกิลิฏฺเฐ สุคติ
ปาฏิกงฺขา
เมื่อจิตไม่เศร้าหมองแล้ว สุคติเป็นอันหวังได้
|
๖.
|
๖.๑
|
คนโทสจริต
มีอุปนิสัยเป็นอย่างไร ? จะแก้ด้วยการเจริญกัมมัฏฐานบทใด
?
|
|
๖.๒
|
การที่ท่านสอนให้เจริญเมตตาในตนก่อนแล้ว จึงแผ่ไปในชนอื่นนั้น
มีเหตุผลอย่างไร ? |
๖.
|
๖.๑
|
คนที่มีจิตมักฉุนเฉียวโกรธเคืองง่าย ๆ สันดานหนักไปในโทสะ
มักก่อทุกข์โทมนัสให้แก่ผู้อื่น จัดเป็นคนโทสจริต
มีโทสะเป็นเครื่องประพฤติเป็นปกติของตัว
ควรเจริญกัมมัฏฐาน ๘ ประการ คือวัณณกสิณ ๔ กับพรหมวิหาร ๔
|
|
๖.๒
|
มีเหตุผลดังนี้ คือจะได้ทำตนให้เป็นพยานว่า ตนนี้อยากได้แต่ความสุข เกลียดชังทุกข์ และภัยต่าง ๆ ฉันใด
สัตว์ทั้งหลายอื่น ๆ ก็อยากได้สุข
เกลียดชังทุกข์และภัยต่าง ๆ ฉันนั้น เมื่อเห็นดังนี้แล้ว
จิตก็ปรารถนาให้สัตว์ทั้งสิ้นอื่น ๆ มีความสุขความเจริญ
|
๗.
|
๗.๑
|
วิปัลลาสคืออะไร ? จำแนกโดยวัตถุเป็นที่ตั้งมีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง
?
|
|
๗.๒
|
จะถอนวิปัลลาสนั้นได้เพราะเจริญธรรมอะไร ?
|
๗.
|
๗.๑
|
คือ
กิริยาที่ถือเอาโดยอาการวิปริตผิดจากความจริง มี ๔
อย่างคือ
๑)
วิปัลลาสในของที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง
๒)
วิปัลลาสในของที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข
๓)
วิปัลลาสในของที่ไม่ใช่ตนว่าเป็นตน
๔)
วิปัลลาสในของที่ไม่งามว่างาม
|
|
๗.๒
|
วิปัลลาสในของที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง
จะถอนได้ด้วยอนิจจสัญญา
วิปัลลาสในของที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข
จะถอนได้ด้วยทุกขสัญญา
วิปัลลาสในของที่ไม่ใช่ตนว่าเป็นตน
จะถอนได้ด้วยอนัตตสัญญา
วิปัลลาสในของที่ไม่งามว่างาม
จะถอนได้ด้วยอสุภสัญญา
|
๘.
|
๘.๑
|
ผู้เจริญสติปัฏฐานต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง ?
|
|
๘.๒
|
ผู้เจริญสติปัฏฐานสมบูรณ์เต็มที่แล้ว
จะได้รับอานิสงส์เช่นใด ?
|
๘.
|
๘.๑
|
มี ๑) อาตาปี มีความเพียรแผดเผากิเลส
๒) สมฺปชาโน มีสัมปชัญญะ
๓) สติมา
มีสติ
|
|
๘.๒
|
ได้รับอานิสงส์ ๕ ประการดังนี้
๑)
ได้ความบริสุทธิ์
๒) ได้ข้ามพ้นโสกะและปริเทวะ
๓)
ได้ความดับไปแห่งทุกข์และโทมนัส
๔)
ได้บรรลุธรรมที่ถูก
๕)
ได้ทำให้แจ้งพระนิพพาน
|
๙.
|
๙.๑
|
การพิจารณากองลมหายใจเข้าออก เพียงแต่รู้ว่าสั้นยาว ดังนี้ จัดเป็น
สติปัฏฐานข้อไหน ? |
|
๙.๒
|
ในธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หัวข้อธรรมที่จะนำมาพิจารณานั้นมีอะไรบ้าง
?
|
๙.
|
๙.๑
|
จัดเป็นกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
|
|
๙.๒
|
มี นิวรณ์ ๕
อุปาทานขันธ์ ๕ อายตนะ ๖ โพชฌงค์ ๗ และอริยสัจ ๔
|
๑๐.
|
๑๐.๑
|
อนิจจสัญญาในคิริมานนทสูตร
มีใจความว่าอย่างไร ?
|
|
๑๐.๒
|
การพิจารณาอาทีนวสัญญาโดยย่อ
ได้แก่พิจารณาอย่างไร ?
|
๑๐.
|
๑๐.๑
|
มีใจความว่า "
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปในป่าก็ดี ไปที่โคนไม้ก็ดี ไปที่เรือนว่างเปล่าก็ดี
ย่อมพิจารณาอย่างนี้ว่า รูป เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ ไม่เที่ยง ย่อมเป็นผู้พิจารณาเนือง ๆ โดยความไม่เที่ยงในอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ " |
|
๑๐.๒
|
พิจารณาอย่างนี้ว่า "
กายนี้มีทุกข์มาก มีโทษมาก เหล่าอาพาธย่อมเกิดขึ้นในกายนี้ "
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น