ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นตรี
สอบในสนามหลวง
วันจันทร์ ที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๔
วันจันทร์ ที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๔
๑.
|
๑.๑
|
พุทธบัญญัติ มูลบัญญัติ อนุบัญญัติ คืออะไร ?
|
๑.๒
|
อกรณียกิจคืออะไร ? มีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ?
| |
๑.
|
๑.๑
|
พุทธบัญญัติ คือข้อที่พระพุทธเจ้าทรงตั้งไว้เป็นบทบังคับให้ภิกษุประพฤติ
มูลบัญญัติ คือข้อที่ทรงบัญญัติไว้เดิม
อนุบัญญัติ คือข้อที่ทรงบัญญัติเพิ่มเติมภายหลัง
|
๑.๒
|
อกรณียกิจ คือกิจที่บรรพชิตไม่ควรทำ มี ๔ อย่างคือ
เสพเมถุน ๑
ลักของเขา ๑
ฆ่าสัตว์ ๑
พูดอวดคุณพิเศษที่ไม่มีในตน ๑
| |
๒.
|
๒.๑
|
คำว่า ต้องอาบัติ หมายความว่าอย่างไร ?
|
๒.๒
|
อาบัติมีโทษกี่สถาน ? อะไรบ้าง ?
| |
๒.
|
๒.๑
|
หมายความว่า ต้องโทษคือมีความผิดฐานละเมิดข้อที่พระพุทธเจ้าทรงห้าม
|
๒.๒
|
มี ๓ สถานคือ
อย่างหนัก
อย่างกลาง
อย่างเบา
| |
๓.
|
๓.๑
|
ท่านเปรียบพระวินัยเหมือนด้ายร้อยดอกไม้ หมายความว่าอย่างไร ?
|
๓.๒
|
ภิกษุรักษาพระวินัยดีแล้ว ย่อมได้อานิสงส์อย่างไร ?
| |
๓.
|
๓.๑
|
หมายความว่า ด้ายร้อยดอกไม้ควบคุมดอกไม้ไว้ไม่ให้กระจัดกระจายฉันใด พระวินัยย่อมรักษาสงฆ์ให้ตั้งอยู่เป็นอันดีฉันนั้น
|
๓.๒
|
ย่อมได้อานิสงส์ คือไม่ต้องเดือดร้อนใจ ได้รับความแช่มชื่นว่า ได้ประพฤติดีงาม จะเข้าหมู่ภิกษุผู้มีศีลก็องอาจไม่สะทกสะท้าน
| |
๔.
|
๔.๑
|
อาบัติที่เป็นโลกวัชชะหมายความว่าอย่างไร ? จงยกตัวอย่างประกอบ
|
๔.๒
|
อาบัติที่เป็นปัณณัตติวัชชะหมายความว่าอย่างไร ? จงยกตัวอย่างประกอบ
| |
๔.
|
๔.๑
|
หมายความว่า อาบัติที่มีโทษซึ่งภิกษุทำเป็นความผิดความเสีย
คนสามัญทำ ก็เป็นความผิดความเสียเหมือนกัน เช่น ทำโจรกรรม เป็นต้น
|
๔.๒
|
หมายความว่า อาบัติที่มีโทษเฉพาะภิกษุทำ แต่คนสามัญทำไม่เป็นความผิดความเสีย เช่น ขุดดิน เป็นต้น
| |
๕.
|
๕.๑
|
ภิกษุฆ่าสัตว์ให้ตายเป็นอาบัติอะไร ?
|
๕.๒
|
ภิกษุพยายามจะฆ่าตนเองเป็นอาบัติอะไร ?
| |
๕.
|
๕.๑
|
ถ้าเป็นสัตว์มนุษย์ เป็นอาบัติปาราชิก
สัตว์ที่เรียกว่าอมนุษย์ เช่นยักษ์ เปรต และดิรัจฉานมีฤทธิ์จำแลงกายเป็นมนุษย์ได้ เป็นอาบัติถุลลัจจัย ดิรัจฉานทั่วไป เป็นอาบัติปาจิตตีย์
|
๕.๒
|
เป็นอาบัติทุกกฏ
| |
๖.
|
๖.๑
|
พูดอย่างไรเรียกว่า อวดอุตตริมนุสสธรรม ?
|
๖.๒
|
ภิกษุพูดอวดอุตตริมนุสสธรรมซึ่งไม่มีจริงในตน เมื่อคนอื่นฟังแล้วเข้าใจแต่ไม่เชื่อ ภิกษุนี้จะต้องอาบัติอะไร ?
| |
๖.
|
๖.๑
|
พูดอวดคุณพิเศษอันยิ่งของมนุษย์ เช่น ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ มรรค ผล นิพพาน เรียกว่า อวดอุตตริมนุสสธรรม
|
๖.๒
|
ต้องอาบัติปาราชิก
| |
๗.
|
๗.๑
|
จงอธิบายความหมายของคำต่อไปนี้ อเตกิจฉา อจิตตกะ
|
๗.๒
|
คำว่า มาตุคาม (หญิง) ในสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๒, ๓, ๔, ต่างกันอย่างไร ?
| |
๗.
|
๗.๑
|
อเตกิจฉา อาบัติที่แก้ไขไม่ได้
อจิตตกะ อาบัติที่ไม่จงใจ
|
๗.๒
|
มาตุคาม ในสิกขาบทที่ ๒ หมายถึง หญิงมนุษย์โดยที่สุดเกิดในวันนั้น
มาตุคาม ในสิกขาบทที่ ๓, ๔ หมายถึง หญิงผู้รู้เดียงสา
| |
๘.
|
๘.๑
|
คำว่า นิสสัคคิยปาจิตตีย์ หมายความว่าอย่างไร ?
|
๘.๒
|
ปาจิตตีย์แบ่งเป็น นิสสัคคิยปาจิตตีย์ และสุทธิกปาจิตตีย์ เพราะเหตุไร ?
| |
๘.
|
๘.๑
|
หมายความว่า อาบัติปาจิตตีย์ที่จำต้องสละสิ่งของ
|
๘.๒
|
เพราะว่านิสสัคคิยปาจิตตีย์นั้น จำต้องเสียสละวัตถุอันเป็นเหตุให้ต้องอาบัตินั้นเสียก่อน จึงแสดงอาบัติได้ ส่วนสุทธิกปาจิตตีย์นั้น ภิกษุพึงแสดงอาบัติได้เลย ไม่มีวัตถุใด ๆ ที่จำต้องสละ
| |
๙.
|
๙.๑
|
ภิกษุนำ เตียง ตั่ง ฟูก เก้าอี้ ของสงฆ์ ไปใช้ในที่แจ้งแล้ว ครั้นหลีกไปจากที่นั้น ไม่เก็บหรือไม่มอบหมายให้ผู้อื่นเก็บให้เรียบร้อย ต้องอาบัติอะไรหรือไม่ ?
|
๙.๒
|
ภิกษุเข้าบ้านในเวลาวิกาล โดยไม่บอกลาภิกษุอื่นในวัด ต้องอาบัติอะไรหรือไม่ ?
| |
๙.
|
๙.๑
|
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
|
๙.๒
|
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่มีกิจรีบด่วน
| |
๑๐.
|
๑๐.๑
|
เสขิยวัตรคืออะไร ? มีกี่สิกขาบท ?
|
๑๐.๒
|
ภิกษุไม่เอื้อเฟื้อในเสขิยวัตร ปฏิบัติผิดธรรมเนียม ต้องอาบัติอะไร ?
| |
๑๐.
|
๑๐.๑
|
คือวัตรหรือธรรมเนียมที่ควรศึกษา , มี ๗๕ สิกขาบท
|
๑๐.๒
|
ต้องอาบัติทุกกฏ
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น