ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม
นักธรรมชั้นโท
สอบในสนามหลวง
พ.ศ. ๒๕๔๖
๑.
|
๑.๑
|
เทสนา ๒ มีอะไรบ้าง ?
|
|
๑.๒
|
เทสนา
๒ อย่างนั้นต่างกันอย่างไร จงอธิบาย ?
|
๑.
|
๑.๑
|
มี
ปุคคลาธิฏฐานา มีบุคคลเป็นที่ตั้ง ๑ ธัมมาธิฏฐานา มีธรรมเป็น
ที่ตั้ง ๑ ฯ |
|
๑.๒
|
ต่างกันอย่างนี้
การสอนที่ยกบุคคลมาเป็นตัวอย่าง เช่น ในมหาชนกชาดก สอนเรื่องความเพียร
โดยกล่าวถึงพระมหาชนกโพธิสัตว์ว่า ทรงมีความเพียรอย่างยิ่ง
พยายามว่ายน้ำในท่ามกลางมหาสมุทรที่กว้างใหญ่มองไม่เห็นฝั่งอย่างไม่ย่อท้อ ด้วยความุ่งมั่นที่จะถึงฝั่งให้ได้
เป็น ปุคคลาธิฏฐานา ฯ
ส่วนการยกธรรมแต่ละข้อมาอธิบายความหมายอย่างเดียว
เช่น สติ แปลว่า ความระลึกได้ หมายความว่า ก่อนจะทำ
ก่อนจะพูดอะไร ต้องคิดให้รอบคอบเสียก่อน
จึงทำ จึงพูดออกไป เป็นต้น เป็น ธัมมาธิฏฐานา ฯ
|
๒.
|
๒.๑
|
ญาณ ๓ ที่เป็นไปในอริยสัจ ๔ มีอะไรบ้าง ?
|
|
๒.๒
|
ญาณ
๓ ที่เป็นไปในทุกขนิโรธ มีอธิบายอย่างไร ?
|
๒.
|
๒.๑
|
มี ๑) สัจจญาณ ปรีชาหยั่งรู้อริยสัจ
๒) กิจจญาณ ปรีชาหยั่งรู้กิจอันควรทำ
๓) กตญาณ ปรีชาหยั่งรู้กิจอันทำแล้ว ฯ
|
|
๒.๒
|
มีอธิบายอย่างนี้
๑) ปรีชาหยั่งรู้ว่า
นี้ทุกขนิโรธ จัดเป็นสัจจญาณ
๒) ปรีชาหยั่งรู้ว่า
ทุกขนิโรธ เป็นสภาพที่ควรทำให้แจ้ง
จัดเป็นกิจจญาณ
๓) ปรีชาหยั่งรู้ว่า
ทุกขนิโรธ เป็นสภาพที่ควรทำให้แจ้ง
ทำให้แจ้งแล้ว จัดเป็นกตญาณ ฯ |
๓.
|
๓.๑
|
คำว่า “ โสดาบัน ” แปลว่าอะไร ?
|
|
๓.๒
|
พระอริยบุคคลชั้นโสดาบันนี้
ท่านละกิเลสอะไรได้ขาดบ้าง ?
|
๓.
|
๓.๑
|
โสดาบัน แปลว่า
ผู้แรกถึงกระแสพระนิพพาน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา จะต้องตรัสรู้ในภายภาคหน้า ฯ
|
|
๓.๒
|
ท่านละสังโยชน์ได้ขาด
๓ อย่าง คือ
๑) สักกายทิฏฐิ
๒) วิจิกิจฉา
๓) สีลัพพตปรามาส ฯ
|
๔.
|
๔.๑
|
ในอปัสเสนธรรม ข้อว่า
“ พิจารณาแล้วเสพของอย่างหนึ่ง
” คำว่า
“ ของอย่างหนึ่ง ” ในข้อนี้ได้แก่อะไร ? |
|
๔.๒
|
ผู้พิจารณาตามข้อ
๔.๑ นั้น ได้ประโยชน์อย่างไร ?
|
๔.
|
๔.๑
|
ได้แก่
ปัจจัย ๔ บุคคล และธรรม เป็นต้น ที่ทำให้เกิดความสบาย
ฯ
|
|
๔.๒
|
ได้ประโยชน์อย่างนี้ คือ ทำกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ทำกุศลที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญยิ่งขึ้น
ทำกิเลสและอกุศลที่เกิดขึ้นแล้วให้เสื่อมไป
ฯ
|
๕.
|
๕.๑
|
คำว่า
ทักขิณา ในทักขิณาวิสุทธินั้น หมายถึงอะไร ?
|
|
๕.๒
|
ทักขิณาจะไม่บริสุทธิ์
และบริสุทธิ์ กำหนดรู้ได้อย่างไร ?
|
๕.
|
๕.๑
|
หมายถึง
ของทำบุญ ฯ
|
|
๕.๒
|
กำหนดรู้ได้อย่างนี้
ทั้งทายก ทั้งปฏิคาหกเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ ทักขิณานั้น ชื่อว่า
ไม่บริสุทธิ์ทั้งสองฝ่าย
ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งบริสุทธิ์ ชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายเดียว
ทั้งสองฝ่ายบริสุทธิ์
ชื่อว่าบริสุทธิ์ทั้งสองฝ่าย ฯ
|
๖.
|
๖.๑
|
ปัญจขันธ์
ได้ชื่อว่า มาร เพราะเหตุไร ?
|
|
๖.๒
|
กิเลสมาร และมัจจุมาร
จัดเข้าในอริยสัจข้อใดได้หรือไม่ ?
เพราะเหตุไร ?
|
๖.
|
๖.๑
|
เพราะบางทีทำความลำบากให้
อันเป็นเหตุเบื่อหน่าย จนถึงฆ่าตัวตายเสียเองก็มี ฯ
|
|
๖.๒
|
ได้ ฯ กิเลสมาร
จัดเข้าในทุกขสมุทัยสัจ เพราะกิเลสเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ มัจจุมาร จัดเข้าในทุกขสัจ เพราะเป็นตัวทุกข์ ฯ
|
๗.
|
บุคคลผู้มีปกติต่อไปนี้
จัดเข้าในจริตอะไร ?
จะพึงแก้ด้วยธรรมข้อใด ?
|
|
|
๗.๑
|
ผู้มีปกติรักสวยรักงาม
|
|
๗.๒
|
ผู้มีปกตินึกพล่าน
|
๗.
|
๗.๑
|
จัดเข้าในราคจริต ฯ จะพึงแก้ด้วยเจริญกายคตาสติ
หรืออสุภกัมมัฏฐาน
ฯ
|
|
๗.๒
|
จัดเข้าในวิตักกจริต ฯ จะพึงแก้ด้วยเพ่งกสิณ หรือเจริญอานาปานสติ ฯ
|
๘.
|
๘.๑
|
พระสงฆ์ ในบทสังฆคุณ ๙
ท่านหมายถึงพระสงฆ์เช่นไร ?
|
|
๘.๒
|
คำว่า
“อุชุปฏิปนฺโน เป็นผู้ปฏิบัติตรง” คือปฏิบัติเช่นไร
?
|
๘.
|
๘.๑
|
หมายถึง
พระสาวกผู้ได้บรรลุธรรมวิเศษ ฯ
|
|
๘.๒
|
คือไม่ปฏิบัติลวงโลก ไม่มีมายาสาไถย ประพฤติตรง ตรงต่อพระศาสดาและเพื่อนสาวกด้วยกัน
ไม่อำพรางความในใจ ไม่มีแง่มีงอน ฯ
|
๙.
|
จงให้ความหมายของคำต่อไปนี้
?
|
|
|
๙.๑
|
อโหสิกรรม
|
|
๙.๒
|
กตัตตากรรม
|
๙.
|
๙.๑
|
คือกรรมให้ผลสำเร็จแล้ว
เป็นกรรมล่วงคราวแล้วเลิกให้ผล เปรียบเหมือนพืชสิ้นยางแล้ว
เพาะไม่ขึ้น ฯ
|
|
๙.๒
|
คือ
กรรมสักว่าทำ
ได้แก่กรรมอันทำด้วยไม่จงใจ ฯ
|
๑๐.
|
๑๐.๑
|
ปังสุกูลิกังคะ องค์แห่งผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร คืออย่างไร
?
|
|
๑๐.๒
|
ธุดงค์ข้อใด ที่ภิกษุสมาทานสำเร็จด้วยอิริยาบถ ๓ คือ ยืน เดิน
นั่ง ?
|
๑๐.
|
๑๐.๑
|
คือไม่รับจีวรจากทายก
เที่ยวแสวงหาและใช้เฉพาะแต่ผ้าบังสุกุลมาเย็บย้อมทำจีวรใช้เอง ฯ
|
|
๑๐.๒
|
คือ
เนสัชชิกังคะ องค์แห่งภิกษุผู้ถือการนั่งเป็นวัตร ถือเฉพาะอิริยาบถ ๓ คือ ยืน
เดิน และนั่งเท่านั้น ฯ
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น