ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันอาทิตย์ ที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ.
๒๕๔๙
๑. อภิสมาจาร คืออะไร ? ภิกษุล่วงละเมิดจะเกิดความเสียหายอย่างไร
?
๑. คือ ธรรมเนียมของภิกษุ ฯ
ถ้าล่วงละเมิดแต่บางอย่างหรือบางครั้งก็เสียหายน้อย
แต่ถ้าล่วงละเมิด
มากอย่างหรือเป็นนิตย์ ธรรมเนียมย่อมกลายไปหรือเสื่อมไป ภิกษุ
จะแตกเป็น ๒ พวก คือเคร่งและไม่เคร่ง ฯ
มากอย่างหรือเป็นนิตย์ ธรรมเนียมย่อมกลายไปหรือเสื่อมไป ภิกษุ
จะแตกเป็น ๒ พวก คือเคร่งและไม่เคร่ง ฯ
๒. ภิกษุพึงปฏิบัติเกี่ยวกับเล็บมือเล็บเท้าของตนอย่างไร
จึงจะถูกต้องตาม
วินัยแผนกอภิสมาจาร ?
วินัยแผนกอภิสมาจาร ?
๒. พึงปฏิบัติอย่างนี้ คือ
ไม่พึงไว้เล็บยาว พึงตัดพอเสมอเนื้อ ไม่พึงขัดเล็บ
ให้เกลี้ยงเกลาด้วยมุ่งหมายให้เกิดความสวยงาม แต่เล็บเปื้อน จะขัด
มลทินหรือแคะมูลเล็บได้อยู่ นี้เป็นกิจควรทำ ฯ
ให้เกลี้ยงเกลาด้วยมุ่งหมายให้เกิดความสวยงาม แต่เล็บเปื้อน จะขัด
มลทินหรือแคะมูลเล็บได้อยู่ นี้เป็นกิจควรทำ ฯ
๓. ภิกษุพึงใช้บริขารบริโภคและเครื่องอุปโภคอย่างไร
จึงจะดูน่าเลื่อมใส
ของประชาชน ?
ของประชาชน ?
๓. การใช้บริขารบริโภคและเครื่องอุปโภคนั้น
ภิกษุควรรู้ต้นเค้าคือนิสัย ๔
ว่า ภิกษุย่อมนิยมใช้สอยบริขารที่เป็นของปอนหรือของเรียบๆ ไม่ใช้
ของดีที่กำลังตื่นกันในสมัยอันจะพึงเรียกว่าโอ่โถง ความประพฤติปอน
ของภิกษุนี้ย่อมทำให้เกิดความเลื่อมใสแก่คนบางพวกที่เรียกว่า ลูขประมาณ
แปลว่า มีของปอนเป็นประมาณ คือมีของปอนเป็นเหตุนับถือ ฯ
ว่า ภิกษุย่อมนิยมใช้สอยบริขารที่เป็นของปอนหรือของเรียบๆ ไม่ใช้
ของดีที่กำลังตื่นกันในสมัยอันจะพึงเรียกว่าโอ่โถง ความประพฤติปอน
ของภิกษุนี้ย่อมทำให้เกิดความเลื่อมใสแก่คนบางพวกที่เรียกว่า ลูขประมาณ
แปลว่า มีของปอนเป็นประมาณ คือมีของปอนเป็นเหตุนับถือ ฯ
๔. ผ้าสังฆาฏิ คือผ้าอะไร ? มีหลักฐานความเป็นมาอย่างไร ?
๔. คือ ผ้าสำหรับห่มกันหนาวหรือห่มซ้อนนอก
ทรงอนุญาตเพื่อใช้ในฤดู
หนาว ฯ
หนาว ฯ
มีเรื่องเล่าว่า ในฤดูหนาวจัด
ทรงทดลองห่มจีวรผืนเดียวอยู่ในที่แจ้ง
สามารถกันความหนาวได้ยามหนึ่ง ถ้าอยู่ตลอดราตรี ต้องผ้า ๓ ชั้นจึง
พอกันความหนาวได้ จึงทรงอนุญาตสังฆาฏิ ๒ ชั้นเข้ากับอุตตราสงค์
ชั้นเดียว จะได้เป็น ๓ ชั้น พอกันความหนาวดังกล่าวได้ ฯ
สามารถกันความหนาวได้ยามหนึ่ง ถ้าอยู่ตลอดราตรี ต้องผ้า ๓ ชั้นจึง
พอกันความหนาวได้ จึงทรงอนุญาตสังฆาฏิ ๒ ชั้นเข้ากับอุตตราสงค์
ชั้นเดียว จะได้เป็น ๓ ชั้น พอกันความหนาวดังกล่าวได้ ฯ
๕. พระอุปัชฌาย์และสัทธิวิหาริก พึงปฏิบัติต่อกันอย่างไร จึงจะเกิดความ
เจริญงอกงามในพระธรรมวินัย ?
เจริญงอกงามในพระธรรมวินัย ?
๕. พึงปฏิบัติตามที่สมเด็จพระบรมศาสดาตรัสสั่งไว้ว่า
ให้พระอุปัชฌาย์และ
สัทธิวิหาริกตั้งจิตสนิทสนมในกันและกัน ให้พระอุปัชฌาย์สำคัญ
สัทธิวิหาริกฉันบุตร ให้สัทธิวิหาริกนับถือพระอุปัชฌาย์ฉันบิดา เมื่อเป็น
เช่นนี้ ต่างจะมีความเคารพเชื่อฟังถูกกันอยู่ ย่อมจะถึงความเจริญ
งอกงามไพบูลย์ในพระธรรมวินัย ฯ
สัทธิวิหาริกตั้งจิตสนิทสนมในกันและกัน ให้พระอุปัชฌาย์สำคัญ
สัทธิวิหาริกฉันบุตร ให้สัทธิวิหาริกนับถือพระอุปัชฌาย์ฉันบิดา เมื่อเป็น
เช่นนี้ ต่างจะมีความเคารพเชื่อฟังถูกกันอยู่ ย่อมจะถึงความเจริญ
งอกงามไพบูลย์ในพระธรรมวินัย ฯ
๖. เมื่อภิกษุเพื่อนสหธรรมิกอาพาธ ทรงให้ใครเป็นผู้พยาบาล ?
และทรง
สั่งสอนปรารภภิกษุอาพาธไว้ว่าอย่างไร ?
สั่งสอนปรารภภิกษุอาพาธไว้ว่าอย่างไร ?
๖. ทรงให้ภิกษุเพื่อนสหธรรมิกเอาใจใส่รักษาพยาบาลกัน
อย่าทอดธุระเสีย ฯ
ทรงสั่งสอนปรารภภิกษุอาพาธไว้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย มารดาและบิดา
ของเธอทั้งหลายไม่มี ถ้าพวกเธอจะไม่พยาบาลกันเอง ใครเล่าจะ
พยาบาลพวกเธอ ภิกษุใดปรารถนาจะอุปัฏฐากเรา ขอให้ภิกษุนั้น
พยาบาลภิกษุไข้เถิด ฯ
ของเธอทั้งหลายไม่มี ถ้าพวกเธอจะไม่พยาบาลกันเอง ใครเล่าจะ
พยาบาลพวกเธอ ภิกษุใดปรารถนาจะอุปัฏฐากเรา ขอให้ภิกษุนั้น
พยาบาลภิกษุไข้เถิด ฯ
๗. วิธิวัตร คืออะไร ? มีความสำคัญอย่างไร ?
๗. คือ วินัยที่ว่าด้วยแบบอย่าง
เช่นแบบอย่างการห่มผ้าเป็นต้น ฯ
แบบอย่างนั้นเป็นเหตุให้ภิกษุมีความประพฤติสม่ำเสมอกัน
เช่นนุ่งห่ม
เป็นแบบเดียวกันอันโบราณท่านจัดไว้ถ้าเป็นแบบที่ล่วงเวลาและจะ
ไม่ใช้ก็ต้องมีวิธีใหม่แทน ไม่เช่นนั้นจะค่อยหลุดไปทีละอย่าง จนไม่มี
อะไรเหลือเมื่อถึงเวลานั้นพระสงฆ์ก็จะไม่มีอะไรที่ต่างจากชาวบ้าน ฯ
เป็นแบบเดียวกันอันโบราณท่านจัดไว้ถ้าเป็นแบบที่ล่วงเวลาและจะ
ไม่ใช้ก็ต้องมีวิธีใหม่แทน ไม่เช่นนั้นจะค่อยหลุดไปทีละอย่าง จนไม่มี
อะไรเหลือเมื่อถึงเวลานั้นพระสงฆ์ก็จะไม่มีอะไรที่ต่างจากชาวบ้าน ฯ
๘. การจำพรรษาของภิกษุมีวิธีอย่างไร ? จงอธิบายพอเข้าใจ
๘. การจำพรรษานั้น
ในบาลีกล่าวเพียงให้ทำอาลัย คือ ผูกใจว่าจะอยู่ในที่นี้
๓ เดือน แต่ในบัดนี้มีธรรมเนียมที่ประชุมกันกล่าวคำอธิษฐานพร้อม
กันว่า อิมสฺมึ อาวาเส อิมํ เตมาสํ วสฺสํ อุเปม แปลความว่า เราเข้าถึง
ฤดูฝนในอาวาสนี้ตลอด ๓ เดือน ฯ
๓ เดือน แต่ในบัดนี้มีธรรมเนียมที่ประชุมกันกล่าวคำอธิษฐานพร้อม
กันว่า อิมสฺมึ อาวาเส อิมํ เตมาสํ วสฺสํ อุเปม แปลความว่า เราเข้าถึง
ฤดูฝนในอาวาสนี้ตลอด ๓ เดือน ฯ
๙. ในการทำอุโบสถของภิกษุ การสวดปาฏิโมกข์
การบอกความบริสุทธิ์
และการอธิษฐาน ทรงให้ทำได้ในกรณีใด ?
และการอธิษฐาน ทรงให้ทำได้ในกรณีใด ?
๙. ในกรณีที่ภิกษุประชุมกันตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป
ตรัสให้สวดปาฏิโมกข์ ถ้ามี
เพียง ๓ รูป ๒ รูป เรียกว่าคณะ ตรัสให้บอกความบริสุทธิ์ของตน
แก่กันและกัน ถ้ามีรูปเดียวเรียกว่าบุคคล ให้อธิษฐานใจ คือคิดว่าวันนี้
เป็นวันอุโบสถของเรา ฯ
เพียง ๓ รูป ๒ รูป เรียกว่าคณะ ตรัสให้บอกความบริสุทธิ์ของตน
แก่กันและกัน ถ้ามีรูปเดียวเรียกว่าบุคคล ให้อธิษฐานใจ คือคิดว่าวันนี้
เป็นวันอุโบสถของเรา ฯ
๑๐. คำว่า
อธิษฐานในวินัยกรรม คืออะไร ? ผ้าสังฆาฏิผืนเดิมเก่าขาดใช้ไม่ได้
จะเปลี่ยนใหม่ พึงปฏิบัติอย่างไร ?
จะเปลี่ยนใหม่ พึงปฏิบัติอย่างไร ?
๑๐. คือ
การตั้งบริขารที่ทรงอนุญาตสำหรับภิกษุเอาไว้ใช้สำหรับตัว
(เช่นการตั้งใจใช้จีวรผืนนั้น ไม่ใช้ผืนอื่น) ฯ
พึงทำพินทุผ้าสังฆาฏิผืนใหม่ว่า
อิมํ พินฺทุกปฺปํ กโรมิ เราทำหมาย
ด้วยจุดนี้ แล้วปัจจุทธรณ์คือยกเลิกผ้าสังฆาฏิเดิมว่า อิมํ สงฺฆาฏึ
ปจฺจุทฺธรามิ เรายกเลิกผ้าสังฆาฏิผืนนี้ ต่อจากนั้นอธิษฐานผ้าสังฆาฏิ
ผืนใหม่ว่า อิมํ สงฺฆาฏึ อธิฏฺามิ เราตั้งเอาไว้ซึ่งผ้าสังฆาฏิผืนนี้ ฯ
ด้วยจุดนี้ แล้วปัจจุทธรณ์คือยกเลิกผ้าสังฆาฏิเดิมว่า อิมํ สงฺฆาฏึ
ปจฺจุทฺธรามิ เรายกเลิกผ้าสังฆาฏิผืนนี้ ต่อจากนั้นอธิษฐานผ้าสังฆาฏิ
ผืนใหม่ว่า อิมํ สงฺฆาฏึ อธิฏฺามิ เราตั้งเอาไว้ซึ่งผ้าสังฆาฏิผืนนี้ ฯ
*********
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น