ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นเอก
สอบในสนามหลวง
วันจันทร์ ที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑
๑. กรรมวาจาวิบัติเพราะสวดผิดฐานกรณ์นั้นอย่างไร
?
๑. คือ การสวดธนิตเป็นสิถิล ๑ สวดสิถิลเป็นธนิต ๑ สวดวิมุตเป็นนิคคหิต ๑ สวดนิคคหิตเป็นวิมุต ๑ ฯ
๒. ติจีวราวิปปวาสสีมา และ อุทกุกเขปสีมา
ได้แก่สีมาเช่นไร ?
๒. ติจีวราวิปปวาสสีมา ได้แก่ สีมาที่สงฆ์สมมติให้เป็นแดน
ไม่อยู่ปราศจากไตรจีวรได้ในเขตสีมานั้น
ไม่อยู่ปราศจากไตรจีวรได้ในเขตสีมานั้น
อุทกุกเขปสีมา ได้แก่
สีมาที่กำหนดเขตแห่งสามัคคีด้วยชั่ววักน้ำสาดแห่งคนมีอายุและกำลังปานกลาง ฯ
๓. ภิกษุผู้ได้รับสมมติจากสงฆ์ให้เป็นเจ้าหน้าที่ทำการสงฆ์นั้นๆ
เรียกว่าอะไร ? พึงสวดสมมติด้วยกรรมวาจาประเภทใด
?
๓. เรียกว่า
เจ้าอธิการ ฯ
พึงสวดสมมติด้วยญัตติทุติยกรรม
ฯ
๔. ผ้าที่ไม่ทรงอนุญาตให้ใช้เป็นผ้ากฐิน ได้แก่ผ้าเช่นไรบ้าง ?
๔. เช่นนี้
คือ
๑. ผ้าที่ไม่ได้เป็นสิทธิ เช่น ผ้าที่ขอยืมเขามา
๒. ผ้าที่ได้มาโดยอาการอันมิชอบ คือ ทำนิมิตได้มา พูดเลียบเคียง
ได้มา และผ้าเป็นนิสสัคคีย์
๓. ผ้าที่ได้มาโดยบริสุทธิ์ แต่เก็บค้างคืนไว้ ฯ
๕. ในอุปสมบทกรรม อภัพพบุคคล หมายถึงใคร ? จำแนกโดยประเภทมีเท่าไร ? อะไรบ้าง ?
๕. หมายถึงบุคคลที่ทรงห้ามไม่ให้อุปสมบท
ฯ
มี ๓ ประเภท
คือ
๑. เพศบกพร่อง
๒. ประพฤติผิดพระธรรมวินัย
๓. ประพฤติผิดต่อกำเนิดของเขาเอง ฯ
๖. วิวาทาธิกรณ์
คืออะไร ? ระงับได้ด้วยอธิกรณสมถะข้อใดบ้าง
?
๖. คือ
การเถียงกันปรารภพระธรรมวินัย ฯ
ด้วยสัมมุขาวินัยและเยภุยยสิกา ฯ
ด้วยสัมมุขาวินัยและเยภุยยสิกา ฯ
๗. พระอรรถกถาจารย์แสดงลักษณะปกปิดอาบัติสังฆาทิเสสไว้เป็น
๕ คู่อย่างไรบ้าง ?
๗. แสดงไว้
๕ คู่ ดังนี้
๑. เป็นอาบัติ และรู้ว่าเป็นอาบัติ
๒. เป็นปกตัตตะ และรู้ว่าเป็นปกตัตตะ
๓. ไม่มีอันตราย และรู้ว่าไม่มีอันตราย
๔. อาจอยู่ และรู้ว่าอาจอยู่
๕. ใคร่จะปิด และปิดไว้ ฯ
๘. รัตติเฉท
หมายถึงอะไร ? มีอะไรบ้าง
?
๘. หมายถึง
การขาดราตรีแห่ง (การประพฤติ) มานัต ฯ
มี ๑. อยู่ร่วม
๒. อยู่ปราศ ๓. ไม่บอก
๔. ประพฤติในคณะอันพร่อง ฯ
๔. ประพฤติในคณะอันพร่อง ฯ
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์
๙. กรรมการมหาเถรสมาคมดำรงอยู่ในตำแหน่งคราวละกี่ปี
?
๙. กรรมการที่เป็นสมเด็จพระราชาคณะ ไม่มีกำหนดเวลา
กรรมการที่สมเด็จพระสังฆราชทรงแต่งตั้ง ดำรงอยู่ในตำแหน่งคราวละ ๒ ปี ฯ
๑๐. ตามมาตรา ๒๑
แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ให้จัดแบ่งเขตปกครอง
คณะสงฆ์ส่วนภูมิภาคไว้อย่างไร ?
๑๐. แบ่งดังนี้ คือ ๑. ภาค
๒. จังหวัด ๓. อำเภอ ๔. ตำบล
ส่วนจำนวนและเขตปกครองดังกล่าวให้เป็นไปตามที่กำหนด
ในกฎมหาเถรสมาคม ฯ
ในกฎมหาเถรสมาคม ฯ
***********
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น