ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นเอก
สอบในสนามหลวง
วันเสาร์ ที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑
๑. ความเป็นอนัตตาแห่งสังขาร
พึงกำหนดรู้ด้วยอาการอย่างไรบ้าง ?
๑. ด้วยอาการดังนี้
คือ
๑. ไม่อยู่ในอำนาจ
หรือฝืนความปรารถนา
๒. แย้งต่ออัตตา
๓.
ความเป็นสภาพหาเจ้าของมิได้
๔. ความเป็นสภาพสูญ ฯ
๒. พระบาลีว่า สิญฺจ ภิกฺขุ อิมํ นาวํ แปลว่า ภิกษุ เธอจงวิดเรือนี้
คำว่า เรือ และคำว่า วิด ในที่นี้ หมายถึงอะไร ?
คำว่า เรือ และคำว่า วิด ในที่นี้ หมายถึงอะไร ?
๒. เรือ
หมายถึง อัตภาพร่างกาย
วิด หมายถึง
บรรเทากิเลสและบาปธรรมเสียให้บางเบา จนขจัดได้ขาด ฯ
๓. บาลีอุทเทสว่า วิมุตฺตสฺมึ
วิมุตฺตมิติ ญาณํ โหติ
แปลว่า เมื่อหลุดพ้นแล้ว ญาณว่าหลุดพ้นแล้ว ย่อมมี ใครเป็นผู้หลุดพ้น ? และหลุดพ้นจากอะไร ?
๓. จิตเป็นผู้หลุดพ้น
ฯ พ้นจากอาสวะ ๓ ฯ
พระบาลีว่า เตสํ วูปสโม สุโข ความเข้าไปสงบแห่งสังขารเหล่านั้น เป็นสุข จัดเป็นนิพพานชนิดใด ?
๔. ต่างกัน คือ สอุปาทิเสสนิพพาน
เป็นความดับกิเลสที่ยังมีเบญจขันธ์เหลือ ส่วนอนุปาทิเสสนิพพาน
เป็นความดับกิเลสที่ไม่มีเบญจขันธ์เหลือ ฯ
เป็นอนุปาทิเสสนิพพาน ฯ
๕. นิพพิทา
คืออะไร ? บุคคลผู้ไม่ประสบลาภยศสรรเสริญสุข
จึงเบื่อหน่ายระอาอย่างนี้ จัดเป็นนิพพิทาได้หรือไม่ ? เพราะเหตุใด ?
จึงเบื่อหน่ายระอาอย่างนี้ จัดเป็นนิพพิทาได้หรือไม่ ? เพราะเหตุใด ?
๕. คือ
ความหน่ายในเบญจขันธ์หรือในทุกขขันธ์ด้วยปัญญา ฯ
จัดเป็นนิพพิทาไม่ได้ ฯ เพราะความเบื่อหน่ายดังที่กล่าวนั้น เป็นความท้อแท้
มิใช่เป็นความหน่ายด้วยปัญญา ฯ
๖. ในส่วนสังสารวัฏ สัตวโลกตายแล้วมีคติเป็นอย่างไร ? จงอ้างบาลีประกอบ
๖. มีคติเป็น
๒ คือ
สุคติ มีบาลีว่า
จิตฺเต อสงฺกิลิฏฺเฐ สุคติ
ปาฏิกงฺขา
และ ทุคติ มีบาลีว่า
จิตฺเต สงฺกิลิฏฺเฐ ทุคฺคติ
ปาฏิกงฺขา ฯ
๗. ผู้จะเจริญวิปัสสนาภาวนา
พึงศึกษาให้รู้จักธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง ?
๗. ธรรม
๓ ประการ คือ
๑. ธรรมเป็นภูมิเป็นอารมณ์ของวิปัสสนานั้น (มีขันธ์ ๕ เป็นต้น)
๒. ธรรมเป็นรากเหง้า เป็นเหตุเกิดขึ้นตั้งอยู่ของวิปัสสนานั้น
(คือสีลวิสุทธิและจิตตวิสุทธิ)
(คือสีลวิสุทธิและจิตตวิสุทธิ)
๓. ตัว คือ วิปัสสนานั้น (คือ
วิสุทธิ ๕ ที่เหลือ) ฯ
๘. วิปัลลาส
คืออะไร ? แบ่งตามจิตและเจตสิกได้กี่ประเภท
? อะไรบ้าง ?
๘. คือ กิริยาที่ถือโดยอาการวิปริตผิดจากความเป็นจริง
ฯ
แบ่งได้ ๓ ประเภท ฯ
คือ ๑. สัญญาวิปัลลาส ๒. จิตตวิปัลลาส ๓. ทิฏฐิวิปัลลาส ฯ
๙. จริต คืออะไร ? เพราะเหตุใดจึงต้องเจริญกัมมัฏฐานให้เหมาะกับจริต
ของตน ?
๙. คือ
ความประพฤติเป็นปกติของบุคคล ฯ
เพราะ กัมมัฏฐานแต่ละอย่างก็เป็นที่สบายของคนแต่ละจริต ถ้าเจริญไม่เหมาะกับจริต กรรมฐานก็จะสำเร็จได้โดยยาก ฯ
๑๐. อารมณ์ของสติปัฏฐาน มีอะไรบ้าง
?
ภิกษุผู้เจริญสติปัฏฐานพึงมีคุณสมบัติอะไรบ้าง ?
ภิกษุผู้เจริญสติปัฏฐานพึงมีคุณสมบัติอะไรบ้าง ?
๑๐. มี กาย
เวทนา จิต ธรรม ฯ
พึงมี ๑. อาตาปี มีความเพียรเผากิเลส
๒.
สัมปชาโน มีสัมปชัญญะ
๓.
สติมา มีสติ ฯ
***********
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น