วันพฤหัสบดีที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

วิชาพุทธานุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นเอก 2549


ปัญหาและเฉลยวิชาพุทธานุพุทธประวัติ  นักธรรมชั้นเอก
สอบในสนามหลวง
วันเสาร์ ที่ ๑๖ ธันวาคม พ.. ๒๕๔๙
   .  บุพพนิมิต ๕ ประการที่เกิดแก่พระโพธิสัตว์ ก่อนจะจุติลงปฏิสนธิ
        ในครรภ์พระมารดาคืออะไรบ้าง
?
   ๑. คือ
               . ดอกไม้ทิพย์ประดับกายเหี่ยวแห้ง
               . ผ้าภูษาทรงมีสีเศร้าหมอง
               . เหงื่อไหลออกจากรักแร้
               . ร่างกายปรากฏชรา
               . พระทัยกระสันเป็นทุกข์ เหนื่อยหน่ายจากเทวโลก ฯ
  .  สัมปทาคุณ ๓ ประการของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คืออะไรบ้าง ? เกิดผลดี
        อย่างไร ?
  .  คือ
               .   เหตุสัมปทา คือการบำเพ็ญบารมีมาอย่างครบถ้วน
               ๒.  ผลสัมปทา คือการที่ทรงได้รับผลของบารมี ทำให้มีรูปกาย
                     ประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ อานุภาพ การละกิเลสและ
                     พระญาณหยั่งรู้ เป็นต้น
               ๓.  สัตตูปการสัมปทา คือการที่ทรงบำเพ็ญประโยชน์แก่ชาวโลก
                     ด้วยพระทัยที่บริสุทธิ์ ฯ
        ทำให้พระองค์ทรงเป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาและความเลื่อมใสของบัณฑิตชน              ทั้งเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจะพึงปรารภเป็นอารมณ์แล้วก่อสร้าง
        สั่งสมบุญกุศลให้ไพบูลย์ ฯ
  .  เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะประสูติ มีปาฏิหาริย์อะไรเกิดขึ้นบ้าง ?
  ๓.  มีปาฏิหาริย์ ๗ อย่าง คือ
               ๑. พระมารดาทรงประทับยืน
               ๒. ประสูติไม่เปรอะเปื้อนด้วยครรภมลทิน
               ๓. มีเทวดามาคอยรับก่อน
               ๔. มีธารน้ำร้อนน้ำเย็นตกลงมาจากอากาศสนานพระกาย
               ๕. เมื่อประสูติออกมาทรงเดินได้ ๗ ก้าว
               ๖. ทรงเปล่งวาจาเป็นบุพพนิมิตแห่งพระสัมมาสัมโพธิญาณ
               ๗. แผ่นดินไหว ฯ
   .  ในการบำเพ็ญเพียรเพื่อบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณของพระโพธิสัตว์
       
อยากทราบว่าการบำเพ็ญทุกรกิริยาและอุปมา ๓ ข้อ อย่างไหนเกิดก่อน ?
       
ทรงมีเหตุผลอย่างไร ?
   .  อุปมา ๓ ข้อเกิดก่อน การบำเพ็ญทุกรกิริยาเกิดภายหลัง ฯ
        เพราะเมื่ออุปมา ๓ ข้อ มาปรากฏแก่พระองค์แล้ว ทรงคิดจะบำเพ็ญเพียร
        เพื่อป้องกันจิตไม่ให้น้อมไปในกามารมณ์ได้ จึงทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา ฯ
   .  อปาณกฌาน ได้แก่อะไร ? พระพุทธเจ้าได้ทรงบำเพ็ญครั้งไหน ? และ
        ได้รับผลอย่างไร ?
   .  ได้แก่ความเพ่งไม่มีปราณ คือไม่มีลมอัสสาสะปัสสาสะ โดยเนื้อความ
        ก็คือกลั้นลมหายใจไม่ให้ดำเนินทางจมูกและทางปาก ฯ
        ได้ทรงบำเพ็ญในคราวทรงทำทุกรกิริยา ฯ
        ไม่ได้รับผลที่ทรงมุ่งหวังกลับเป็นการทรมานร่างกายให้ลำบากเปล่า ฯ
   .  สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่ข้าพเจ้าๆ ไม่ชอบใจหมดเป็นคำพูดของใคร ?
        พระพุทธองค์ ตรัสตอบว่าอย่างไร
?
   .  เป็นคำพูดของทีฆนขะ อัคคิเวสสนโคตร ฯ
        ตรัสตอบว่า ถ้าอย่างนั้น ความเห็นอย่างนั้น ก็ต้องไม่ควรแก่ท่าน ท่าน
        ก็ต้องไม่ชอบความเห็นอย่างนั้น ฯ
  .  พระศาสดารับสั่งให้ท่านพระมหากัสสปะทรงจีวรที่คฤหบดีถวายเป็นต้น              แต่ท่านมิได้ทำตาม เพราะเห็นอำนาจประโยชน์อะไร ?
  .  เห็นประโยชน์ ๒ อย่าง คือ
               ๑.   การอยู่เป็นสุขในบัดนี้ของตน
               ๒.  การอนุเคราะห์ประชุมชนในภายหลัง ประชุมชนในภายหลัง
                     ทราบว่าสาวกของพระพุทธเจ้าไม่ประพฤติตนอย่างนั้น จักถึง
                     ทิฏฐานุคติ ปฏิบัติตามที่ตนได้เห็นได้ยิน ความปฏิบัตินั้น จัก
                     เป็นไปเพื่อประโยชน์และสุขแก่เขาสิ้นกาลนาน ฯ
  .  ก่อนที่ท่านพระโมฆราชจะมาเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา ท่านเคยเป็น
        ศิษย์ของใคร
?  ผู้นั้นตั้งสำนักสอนอยู่ที่ไหน ?
  .  เป็นศิษย์ของพาวรีพราหมณ์ ฯ
        อยู่ที่ฝั่งแม่น้ำโคธาวรี ที่พรมแดนแห่งเมืองอัสสกะและเมืองอาฬกะ ฯ
  .  ท่านพระอานนท์ทูลขอพรพระบรมศาสดาก่อนจะรับเป็นพุทธุปัฏฐากไว้
        ๘ ข้อ  ท่านมีเหตุผลที่ทูลขอพร ๔ ข้อหลังว่าอย่างไร
?
  .  ใน ๔ ข้อหลังนี้ ๓ ข้อแรก เพื่อจะป้องกันคนพูดว่า พระอานนท์บำรุง
        พระศาสดาทำอะไร เพราะพระองค์ไม่ทรงอนุเคราะห์แม้ด้วยกิจเท่านี้                  ส่วนข้อสุดท้าย เมื่อมีคนถามในที่ลับหลัง พระพุทธองค์ว่า ธรรมนี้
        พระองค์ทรงแสดงในที่ไหน ถ้าท่านบอกไม่ได้ เขาก็จะพูดได้ว่า ท่าน
        ไม่รู้แม้แต่เรื่องเท่านี้ ไม่ละพระศาสดาเที่ยวตามเสด็จอยู่ ดุจเงาตามตัว
        สิ้นกาลนาน เพราะเหตุอะไร ฯ
๑๐.  บุคคลต่อไปนี้ได้รับเอตทัคคะในทางใด ?
               ก. พระอนุรุทธเถระ     
               ข. พระโสณโกฬิวิสเถระ  
               ค. พระรัฐปาลเถระ                
               ง. นางปฏาจาราเถรี     
                จ. นางกีสาโคตมีเถรี
๑๐.        . พระอนุรุทธเถระ        ได้ทิพยจักษุญาณ
               ข. พระโสณโกฬิวิสเถระ   มีความเพียรปรารภแล้ว
               ค. พระรัฐปาลเถระ         บวชด้วยศรัทธา
               ง. นางปฏาจาราเถรี        ทรงไว้ซึ่งวินัย
               จ. นางกีสาโคตมีเถรี       ทรงไว้ซึ่งจีวรอันเศร้าหมอง ฯ

*********

ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ  นักธรรมชั้นเอก
สอบในสนามหลวง
วันอาทิตย์ ที่ ๑๗ ธันวาคม พ.. ๒๕๔๙
   .  อย่างไรเรียกว่า สงฆ์ผู้พร้อมเพรียง และสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงนั้นสามารถ
        ทำสังฆกรรมใดได้บ้าง
?
   ๑. ภิกษุผู้อยู่ในสมานสังวาสสีมา แปลว่าแดนมีสังวาสเสมอกัน เป็นแดนที่
        กำหนดความพร้อมเพรียง มีสิทธิในอันจะเข้าอุโบสถ ปวารณา และ
        สังฆกรรมร่วมกัน
ทั้งหมดเข้าประชุมกันเป็นสงฆ์ หรือนำฉันทะของภิกษุ
        ผู้ไม่มาเข้าประชุม เรียกว่า สงฆ์ผู้พร้อมเพรียง ฯ
        สามารถทำสังฆกรรมทั้ง ๔ ประเภท มีอปโลกนกรรมเป็นต้นได้ ฯ
  .  ภิกษุที่เรียกในบาลีว่า ผู้เข้ากรรม คือใคร ?  และต้องประกอบด้วย
        คุณสมบัติอย่างไร ?
  .  คือภิกษุผู้เข้าในจำนวนสงฆ์ผู้ทำกรรมนั้นๆ ฯ
        ต้องประกอบด้วยคุณสมบัติดังนี้ คือเป็นภิกษุปกติ ไม่ถูกสงฆ์ยกเสีย
        จากหมู่ด้วยอุกเขปนียกรรม มีสังวาสเสมอด้วยสงฆ์ และเป็น
        สมานสังวาสของกันและกัน ฯ
  .  สังฆกรรมย่อมวิบัติเพราะเหตุไรบ้าง ?  ภิกษุ ๓ รูป ประชุมกันในสีมา
        สวดปาฏิโมกข์ ชื่อว่าวิบัติเพราะเหตุไหน
? 
  . สังฆกรรมย่อมวิบัติ (คือใช้ไม่ได้ แม้ทำแล้วก็ไม่เป็นอันทำ) เพราะ
        เหตุ ๔ อย่าง คือ เพราะวัตถุบ้าง เพราะสีมาบ้าง เพราะปริสะบ้าง
        เพราะกรรมวาจาบ้าง ฯ
        ชื่อว่าวิบัติเพราะปริสะ ฯ
   .  กรานกฐิน  คืออะไร ?  อธิบายพอเข้าใจ
   .  คือเมื่อมีผ้าเกิดขึ้นแก่สงฆ์ในเดือนท้ายฤดูฝน พอจะทำเป็นไตรจีวร
        ผืนใดผืนหนึ่งได้ สงฆ์พร้อมใจกันยกให้แก่ภิกษุรูปหนึ่ง ภิกษุผู้ได้รับ
       
ผ้านั้นเอาไปทำเป็นจีวรแล้วเสร็จในวันนั้นแล้วมาบอกแก่ภิกษุ ผู้ยกผ้านั้น
        ให้เพื่ออนุโมทนา ภิกษุเหล่านั้นอนุโมทนา ทั้งหมดนี้คือกรานกฐิน ฯ
   .  ภิกษุ ๒ ฝ่ายก่อวิวาทเพราะปรารถนาดีก็มี เพราะปรารถนาเลวก็มี
       
อยากทราบว่าอย่างไรชื่อว่าก่อวิวาทเพราะปรารถนาดี อย่างไรชื่อว่าก่อวิวาท
        เพราะปรารถนาเลว
? 
   ๕.  ผู้ใดตั้งวิวาทเพราะเห็นแก่พระธรรมวินัย ผู้นั้นชื่อว่าทำด้วยปรารถนาดี
        ผู้ใดตั้งวิวาทด้วยทิฐิมานะ แม้รู้ว่าผิดก็ขืนทำ ผู้นั้นชื่อว่าทำด้วยปรารถนาเลว
   .  ทิฏฐิสามัญญตา ความเป็นผู้มีความเห็นร่วมกันกับส่วนใหญ่ ไม่ถือแต่
        มติของตน เป็นธรรมสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ ภิกษุปฏิบัติอย่างไร
        จึงจะรักษาธรรมนั้นได้
?
   ๖.  ปฏิบัติอย่างนี้คือ เคารพในพระศาสดา ในพระธรรมวินัย และเคารพ
        ในสงฆ์ผู้เป็นเจ้าหน้าที่รักษาพระธรรมวินัย สำคัญมติของสงฆ์นั้นว่า
        เป็นเนตติอันตนควรเชื่อถือและทำตาม ผู้ปฏิบัติเช่นนี้ ย่อมรักษา
        ทิฏฐิสามัญญตานั้นไว้ได้ ฯ
  .  การทำกรรมมีตัชชนียกรรมเป็นต้นแก่ภิกษุหรือคฤหัสถ์ ควรปฏิบัติ
        อย่างไรจึงจะไม่เป็นทางนำมาซึ่งความแตกสามัคคี
?
  ๗. พึงตั้งอยู่ในมัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักประมาณ กาลัญญุตา ความเป็น
        ผู้รู้จักกาล ปุคคลัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักบุคคล ดำริโดยรอบคอบแล้ว
        จึงทำ ไม่พึงใช้อำนาจที่ประทานไว้ เป็นทางนำมาซึ่งความแตกสามัคคี
        เช่น พวกภิกษุชาวโกสัมพีได้ทำมาแล้ว ฯ
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.. ๒๕๐๕
แก้ไขเพิ่มเติม พ.. ๒๕๓๕
  .  ตามมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ กำหนดองค์ประกอบ
        มหาเถรสมาคมไว้อย่างไร
?
  . กำหนดไว้ดังนี้
               สมเด็จพระสังฆราช ทรงดำรงตำแหน่งประธานกรรมการโดย
               ตำแหน่ง
               สมเด็จพระราชาคณะทุกรูป เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง
                และพระราชาคณะซึ่งสมเด็จพระสังฆราชทรงแต่งตั้ง มีจำนวน
               ไม่เกิน ๑๒ รูป เป็นกรรมการ ฯ
  .  พระภิกษุจะต้องรับนิคหกรรมเมื่อทำผิดเช่นไร ? และผู้ได้รับนิคหกรรม
        ให้สึก ต้องสึกภายในเวลาเท่าไร
?
  . เมื่อกระทำการล่วงละเมิดพระธรรมวินัย และนิคหกรรมที่จะลงโทษแก่                ภิกษุนั้น จะต้องเป็นนิคหกรรมตามพระธรรมวินัย ฯ
        ต้องสึกภายใน ๒๔ ชั่วโมง นับแต่เวลาที่ได้ทราบคำวินิจฉัยนั้น ฯ
๑๐.  พระภิกษุจะไม่สังกัดอยู่ในวัดใดวัดหนึ่งเลยได้หรือไม่ ?
        อ้างมาตราประกอบด้วย
๑๐.  ไม่ได้ ฯ
        ตามมาตรา ๒๗ () แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ๒๕๐๕ แก้ไข
        เพิ่มเติม พ
.. ๒๕๓๕ ฯ

*********

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น